หน้า:รายงานผลการดำเนินการ เรื่อง การเสนอร่างฯ (๒๕๖๓-๑๑-๑๗).pdf/12

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ
ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....

๑)ปิดทางนายกฯ คนนอก ยกเลิกมาตรา ๒๗๒ ซึ่งยังเปิดทางให้สภาเสนอชื่อนายกฯ คนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้ในช่วง ๕ ปีที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐

๒)บอกลายุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ยกเลิกมาตรา ๖๕ และ ๒๗๕ ที่ คสช. แต่งตั้งคนของตัวเองขึ้นมาเขียนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีขีดชะตาอนาคตประเทศด้วยการกำหนดให้การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน, นโยบายรัฐบาล และการทำงานของหน่วยงานราชการ ต้องเป็นไปตามแผนแม่บท

๓)ไม่ต้องมีแผนปฏิรูปประเทศ ยกเิลกการปฏิรูปประเทศด้วยแผนที่เขียนโดยคนของ คสช. คลายล็อคที่กำหนดให้ ครม. ต้องคอยแจ้งความคืบหน้าการทำตามแผนปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาทุก ๓ เดือน ตัดอำนาจ สว. ในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดแผนปฏิรูปประเทศ

๔)ยกเลิกผู้บริหารท้องถิ่นแบบพิเศษ ยกเลิกข้อความในมาตรา ๒๕๒ ที่ให้มีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ยืนยันหลักการองค์กรที่ใช้อำนาจต้องยึดโยงกับประชาชนโดยตรง

๕)พังเกราะที่คุ้มครอง คสช. ยกเลิกมาตรา ๒๗๙ ที่ยังเป็นหลักประกันให้ คสช. ลอยตัวไม่ต้องรับผิด กำหนดให้การกระทำอย่าง คสช. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ รับรองให้ประกาศและคำสั่งของ คสช. ยังมีผลบังคับใช้อยู่ตลอดไป

๖)นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. ยกเลิกระบบบัญชีแคนติเดตนายกฯ ในรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองเสนอชื่อผู้ที่มาได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นนายกฯ ได้ และแก้ไขให้นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น

๗)ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ยกเลิก ส.ว. ๒๕๐ คนที่มาจากการแต่งตั้ง และแก้ไขให้ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้ง ลดจำนวนเหลือ ๒๐๐ คน และใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง การคำนวณจำนวน ส.ว. ต่อหนึ่งจังหวัดยึดระบบเดียวกันกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐

๘)แก้กระบวนการสรรหาคนในองค์กรอิสระ ปรับกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ จากที่ให้คนในองค์กรอิสระหมุนเวียนเก้าอี้เลือกกันเอง เปลี่ยนมาเป็นกระบวนการสรรหาให้เหมาะสมตามภารกิจของแต่ละองค์กร ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง สรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและ กกต. ชุดแรกโดยวิธ๊ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐

๙)ปลดล็อกกลไกแก้รัฐธรรมนูญ แก้ไขให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ต้องพึ่งพาเสียงของ ส.ว. เป็นพิเศษ สามารถทำได้โดยเสียงครึ่งหนึ่งของรัฐสภา และไม่บังคับให้ต้องลงประชามติ

๑๐)มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ๒๐๐ คนมาจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครจะลงสมัครเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก้ได้ ไม่ต้องเป็นพรรคการเมือง โดยต้องแถลงข้อเสนอในการเขียนรัฐธรรมนูญ ประชาชน ๑ คนเลือก ส.ส.ร. ได้เพียง ๑ คนหรือ ๑ กลุ่ม โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ส.ส.ร. ต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๖๐ วันนับตั้งแต่มี ส.ส.ร.