หน้า:รายงานผลการดำเนินการ เรื่อง การเสนอร่างฯ (๒๕๖๓-๑๑-๑๗).pdf/3

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....

หลักการ

แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อรื้อถอนอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ลดความขัดแย้งทางการเมือง และสร้างโอกาสกลับสู่ประชาธิปไตยโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังต่อไปนี้

(๑)ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ มาตรา ๘๘ มาตรา ๒๐๓ มาตรา ๒๑๗ มาตรา ๒๗๐ มาตรา ๒๗๒ มาตรา ๒๗๕ และมาตรา ๒๗๙

(๒)ยกเลิกหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๕๗ ถึงมาตรา ๒๖๓

(๓)การตัดยุทธศาสตร์ชาติออกจากรัฐธรรมนูญ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔๒)

(๔)แก้ไขจากการใช้ระบบบัญชีว่าที่นายกรัฐมนตรี เป็นการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕๙ วรรคแรก)

(๕)ตัดข้อความที่บังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโบายสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖๒ วรรคแรก)

(๖)ตัดข้อความที่ให้มี "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จะให้มาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย" จำกัดให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๒ วรรคสอง)

(๗)แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕๖)

(๘)ยกเลิกที่มาของสมาชิกวุฒิสภาชุดพิเศษจำนวน ๒๕๐ คน และให้มีสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่จำนวน ๒๐๐ คน มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๖๙)

(๙)ยกเลิกกระบวนการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นที่มาของกรรมการชุดปัจจุบัน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (ร่างมาตรา ๑๑)

(๑๐)ให้เริ่มสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ (ร่างมาตรา ๑๒)

(๑๑)การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (เพิ่มหมวด ๑๗ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา ๒๖๑/๑ มาตรา ๒๖๑/๒ มาตรา ๒๖๑/๓ มาตรา ๒๖๑/๔ และมาตรา ๒๖๑/๕)

เหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ถูกออกแบบโดยการวางโครงสร้างทางการเมืองไว้เพื่อรองรับการสืบทอดอำนาจและรักษาอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สถาบันทางการเมืองและกติกาที่ถูกบังคับใช้เป็นเหมือนดั่งเสาค้ำยันอำนาจ ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังออกแบบกติกากีดกันไม่ให้ประชาชน