หน้า:ลัทธิฯ (๑๓) - ๒๔๖๔.pdf/14

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๑

มากกว่าพระสงฆ์โยนะนิกาย ภายหลังมา เมื่อพระราชบุตรองค์เล็กของพระเจ้ามองอองสย ทรงพระนามว่า โบเทาพระยา[1] นัยหนึ่งเรียกว่า มองรวิน ได้สืบราชสมบัติแทนพระราชบิดา ทรงเลื่อมใสในพระสงฆ์โยนะนิกายรูปหนึ่ง ทรงตั้งเปนสังฆราช แต่นั้นมา พระสงฆ์โยนะนิกายก็มีอำนาจมาก แลมีจำนวนมากขึ้นกว่าพระสงฆ์ในโตนะนิกายในเมืองพม่า ภายหลังมา บรรดานิกายต่าง ๆ ที่กล่าวชื่อมานั้นก็สาบสูญไป เกิดเปนนิกายจุลคัณฐี แลมหาคัณฐี มีขึ้นในบัดนี้[2] ความที่ผิดกันในระหว่างต้องนิกายนี้ คือ จุลคัณฐีนิกายถือตามวินัยธรรมมั่นคงนัก แลกล่าวว่า มหาคัณฐีนิกายมิได้ถือตามวินัยโดยมั่นคง

เรื่องนิกายสงฆ์ในเมืองพม่า พระรวินทเถรอธิบายการที่ได้เปนในชั้นหลังเมื่อประเทศพม่ายังไม่ได้อยู่ในความปกครองของอังกฤษนั้น ภิกษุมีอยู่ ๔ นิกาย ในเมืองพม่าเหนือ ๒ นิกาย เรียกว่า สุตมานิกาย ๑ สุวรรณวิรัตตินิกาย ๑ ในพม่าตอนใต้มี ๒ นิกาย เรียกว่า มหาคณีนิกาย ๑ จุลคณีนิกาย ๑ พระสงฆ์สุตมานิกาย มหาคณีนิกาย ทั้ง ๒ นี้ เปนภิกษุพม่าเปนพื้น แลมีมาก สุวรรณวิรัตตินิกาย จุลคณีนิกาย ทั้ง ๒ นี้ ถือลัทธิตามอย่างภิกษุสิงหฬเปนครู มีน้อย ในสมัยเมื่อภิกษุในประเทศพม่าต่างนิกายเช่นนี้ สาสนวงศ์ในครั้งนั้นก็ไม่บริสุทธิ แล


  1. ที่เรียกในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า ตะแคงปะดุงได้ครองประเทศพม่า ตรงกับรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์
  2. ที่เรียกว่า จุลคัณฐี กับมหาคัณฐี ในที่นี้ จะตรงกับจุลคณี แลมหาคณี ที่กล่าววต่อไปข้างน่านั่นเอง