หน้า:ลัทธิฯ (๒๓) - ๒๔๗๓.pdf/23

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๗

เต็มใจของผู้ปกครองที่อยากให้บุตรสาวมีหน้ามีตา จึงยอมรับจัดเครื่องตกแต่งเป็นอันมากส่งไปพร้อมกันในวันที่ส่งตัวเจ้าสาวไปแต่งงาน ทรัพย์สมบัติของผู้ปกครองฝ่ายหญิงที่จัดให้ไปในวันแต่งงานบ่าวสาวนั้น ตามเกณฑ์มีอยู่ ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ เรียกว่า ช่วนเทียมิ่น (แปลว่า เครื่องเต็มหน้าหอ) ชั้นที่ ๒ เรียกว่า งิ่นเทียมิ่น (แปลว่า เงินหน้าหอ) ชั้นที่ ๓ เรียกว่า ปั้งไหลเก้จึง (แปลว่า เครื่องแต่งในห้อง) สิ่งของเหล่านี้จะได้กล่าวรายละเอียดในลักษณทำพิธีระยะที่ ๖

ในเรื่องสู่ขอหญิงมาให้เป็นภรรยาลูกชาย ตามธรรมเนียมของชาวเมืองเตี้ยจิว ไม่เคยมีการกะเกณฑ์และสัญญาเรียกเอาเงินทองกองทุนเป็นการขันต่อซึ่งกันและกันเลย มีแต่เรียกสินสอดตามประเพณีที่กำหนดกันเป็นเงิน ๒๐ ตำลึงจีน นอกจากเงินสินสอดจำนวนนี้แล้ว เลี่ยงไปเกณฑ์เอาขนมกันเป็นจำนวนหลายร้อยชั่ง และตีราคาค่าขนมหนัก ๑๐๐ ชั่ง เป็นเงินตั้ง ๖๐ เหรียญหรือ ๔๐ เหรียญเป็นอย่างน้อย แต่มาในสมัยนี้ โดยมากฝ่ายหญิงเรียกค่าสินสอดตามชอบใจ จึงต้องพูดจาต่อตามคล้ายกันกับการซื้อขาย เมื่อการเป็นเช่นนี้แล้ว ลักษณะสู่ขอหญิงมาเป็นภรรยาก็ชื่อว่า ไม่ใช่ปฏิบัติตามประเพณีเก่า

พิธีแต่งงานบ่าวสาวของชาวเมืองเตี้ยจิว

ได้กล่าวมาแล้วว่า ประเพณีแต่งงานบ่าวสาวของจีนสมัยแผ่นดินไต้เช็งมีการเปลี่ยนแปลงจากแบบเดิมบ้าง แต่อยู่ใน ๖ ระยะนั้นเอง