หน้า:ลัทธิฯ (๒๓) - ๒๔๗๓.pdf/27

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

เจ้าบ่าว แล้วส่งไปให้ฝ่ายหญิงลงนาม วันเดือนปีเกิด ของเจ้าสาว แล้วคืนให้ฝ่ายชายเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน

ระยะที่ ๕ ซึ่งเรียกว่า คุยซี่ยิด นั้น (แปลว่า รายการนัดวันแต่งงาน) คือ บิดามารดาผู้ปกครองฝ่ายชาย เมื่อเลือกได้ฤกษ์ยามวันแต่งงานแน่นอนแล้ว ก็เขียนเทียบบอกวันคืนที่นัดแต่งงานเป็นตัวทอง และส่งรายการจำนวนสิ่งของและเงินอีกจำนวน ๑ ซึ่งสำหรับให้ฝ่ายหญิงเป็นค่าทำของและค่าขนมลงในเทียบอีกฉะบับ ๑ เป็นเงินค่าขนมแช่อิ่ม ๒๐ เหรียญ และตั้วทึ้งปัง (เข้าพองแดงแผ่นใหญ่) เท่าหน้าโต๊ะ ๑๐ แผ่น จันอับต่าง ๆ ๒๐๐‒๓๐๐ ชั่ง เหล่าตุ่ย (หมากพลูเป็นคู่) อีก ๑ ที่ จำนวนเงินและสิ่งของเหล่านี้จัดลงในลังหรือชั้นขนาดใหญ่นับตั้ง ๒๐ หาบ ให้คนหาบไปกับเถ้าแก่ไปให้บิดามารดาผู้ปกครองฝ่ายหญิง ครั้นเถ้าแก่ถึงบ้านฝ่ายหญิง ก็ส่งเทียบและมอบเงินกับสิ่งของแก่บิดามารดาผู้ปกครองของหญิง เมื่อรับไว้ถูกต้องแล้ว ฝ่ายหญิงก็จัดเอาขนมตังเมตัดแผ่นใหญ่ กล้วยหอม ส้ม ลำใย ผลพลับ ผลท้อ ผลสมอ หัวเผือก ถั่วเขียว พันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ เอาผ้าแดงปิดคลุม และมีหมวกรองเท้าถุงเท้าสำหรับกงพั้ว (แปลว่าบิดามารดาของสามี) และกระเป๋าผ้าอีกใบ ๑ มีเงินบรรจุอยู่ด้วย ๑๒ เหรียญ สิ่งของเหล่านี้เขียนลงในเทียบแดงเป็นของตอบแทน มอบให้เถ้าแก่รับเอาไปให้แก่บิดามารดาผู้ปกครองฝ่ายชาย

ระยะที่ ๖ ซึ่งเรียกว่า ซั่วซินนั้ง นั้น (แปลว่า พาคนใหม่)