หน้า:ลัทธิฯ (๒๓) - ๒๔๗๓.pdf/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก สัญญาบัตรเป็นหลวงพรหมบัญชา ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาฝึกหัด ศาลคดีต่างประเทศ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้เป็นผู้พิพากษาในศาลนี้

พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์มงกุฎสยาม พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์ช้างเผือก

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔ สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยาม และได้รับพระราชทานเหรียญดุษดีมาลา เข็มศิลปวิทยา

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์จัตุรถาภรณ์มงกุฎสยาม และได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท สัญญาบัตรเป็นพระวรวาทวินิจฉัย

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ย้ายไปรับราชการในตำแหน่งว่าที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต และได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ตใน พ.ศ. ๒๔๗๐

พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก และได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ป ป ร ชั้นที่ ๔

ถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงย้ายเข้ามาเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์