หน้า:ลัทธิฯ (๒๓) - ๒๔๗๓.pdf/9

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

งานกันช้าวันหรือเร็ววันก็ได้ ไม่มีกฎห้ามอย่างใด มีหลักเกณฑ์แต่เพียงต้องเป็นฤกษ์ยามวันคืนที่โหรดูว่า ดีทั้งหญิงและชาย ด้วยถือกันว่า ในชีวิตของมนุษย์ จะมีความพูมใจในความสุขอันแท้จริง ก็คือ วันแต่งงานเท่านั้น จึงถือประเพณีฤกษ์ดีนี้เป็นหลัก ในวันแต่งงานนั้น ถือเป็นเกียรติยศเท่ากับผู้ที่ได้รับยศศักดิ์ จนมีคำจีนใช้เรียกคู่กันอยู่ ๒ คำ คือ การสอบไล่ได้เป็นขุนนาง เรียกว่า “ไต้เต็งกวย” และการได้แต่งงาน เรียกว่า “เซี้ยเต็งกวย” พิธีแต่งงาน คำจีนเรียกเป็น ๒ อย่าง คือ เรียกว่า “ฮุนอิน” อย่างหนึ่ง และ “เก่ชู้” อย่างหนึ่ง ฮุน นั้นแปลว่า การกระทำพิธีกันในยามค่ำมืด อิน แปลว่า โดยสื่อสารให้เป็นสามีภรรยากัน รวมความว่าแต่งงานโดยเหตุที่สื่อช่วยกระทำการจึงได้เป็นสามีภรรยากันในราตรีกาล ส่วนคำว่า เก่ชู้ นั้นเป็นภาษาเตี้ยจิว เก่ แปลว่า วิวาหะ ชู้ แปลว่า อาวาหะ จะเทียบอาวาหะวิวาหะของไทยไม่สู้ตรงกัน

ประเพณีการแต่งงานตามที่กล่าวมานี้ มีเหตุผลต่างกันตามสมัยนิยม จะแยกอธิบายลัทธิธรรมเนียมครั้งโบราณและลัทธิธรรมเนียมชาวเตี้ยจิวในแผ่นดินเช็งเฉียวเป็น ๒ ตอนดังต่อไปนี้

พิธีแต่งงานบ่าวสาวอย่างโบราณ

พิธีแต่งงานของจีนในสมัยโบราณ ที่กำหนดเป็น ๖ ระยะด้วยกันนั้น คือ พิธีระยะแรก เรียกว่า “นับไช้” แปลว่า สู่ขอ คือว่า ถ้าบิดา