หน้า:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf/40

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๐

เหรียนเงินกอ้นทองกอ้นทองใบนั้น ถ้าลูกค้าบันทุกมาไม่ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสาม ถ้าเงินถ้าทองทำเปนรูปประพรรณต่าง ๆ ฤๅก้าไหล่เงินก้าไหล่ทองก็ดี ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสาม แลเพร์พลอยของสิ่งอื่นทั้งสิ้น ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสามทุกสิ่ง ฝ่ายไทก็ยอมว่าชอบดีแล้ว ๚ะ

 เรื่องข้อ ๘ ว่าดว้ยโรงเก็บภาษี ๚ะ

 ข้อ  ว่า ความในหนังสือสัญญาข้อ ๘ ว่าดว้ยเรื่องเก็บภาษีนั้น มิศปากฃอต่อท่านเสนาบดีว่า ให้ตั้งโรงสำรับเรียกภาษีแลตรวดของเข้าตรวดของออก โรงภาษีตอ้งตั้งอยู่ในบังคับขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายไท ให้ตั้งโรงเก็บภาษีตามกฎหมายที่ติดกับหนังสือนี้ ๚ะ

 เรื่องข้อ ๙ ว่าดว้ยการตั้งภาษีสินค้าใหม่ที่ยังไม่เคยเรียก ๚ะ

 ข้อ  ว่า ฝ่ายไทฃอว่า การในบ้านในเมืองของไท การสิ่งไรที่ยังไม่มีภาษี ไทเหนว่า จะเปนประโยชนกับบ้านเมือง ควรจะตั้งเรียกเอาภาษีได้ ไทจะตั้งภาษีขึ้นใหม่ก็ได้ ฝ่ายมิศปากก็ยอมแต่ให้เรียกเอาภอสมควร อย่าให้มากนัก เรียกแต่ชั้นเดียว ๚ะ

 เรื่องข้อ ๑๐ ว่าดว้ยกำหนดเขตรแดน ๔ ไมล์อังกฤษ ๚ะ

 ข้อ ๑๐ ในหนังสือสัญญาข้อ ๔ ว่า คนอยู่ในใต้บังคับอังกฤษจะมาค้าฃายตามหัวเมืองชายทเลซึ่งขึ้นกับกรุงเทพฯ ก็ฃายได้โดยสดวก แต่จะอาไศรยอยู่ได้ทีเดียวก็แต่ในกรุงเทพฯ ตามจังหวัดซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญา ประการหนึ่ง คนอยู่ในใต้บังคับอังกฤษจะมาเช่าที่ปลูกโรงปลูกเรือนปลูกตึก แลจะซื้อโรงซื้อเรือนซื้อตึก พ้นกำแพงออกไปในกำหนด ๒๐๐ เส้น คือ ๔ ไมล์อังกฤษ เช่าได้ แต่จะซื้อที่ซื้อไม่ได้ ถ้าอยู่