หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/15

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

(๗)เรียก นฤคหิต หรือหยาดน้ำค้าง สำหรับเขียนข้างบนลากข้างเป็นตระ อำ, บนพินทุ์ อิ เป็นสระ อึ ในภาษาบาลีและสันสกฤตท่านจัดเป็นพยัญชนะเรียกว่า นิคหิต หรือ นฤคหิต สำหรับเขียนบนสระในภาษาบาลีอ่านเป็นเสียง ง สะกด เช่น กํ กึ กํุ อ่าน กัง กิง กุง ในภาษาสันสกฤตอ่านเป็นเสียง ม สะกด เช่น กํ กึ กํุ อ่าน กัม กิม กุม โบราณก็นามาใช้บ้าง เช่น ชํุ นํุ อ่าน ชุมนุม ฯลฯ

(๘)" เรียก ฟันหนู สำหรับเขียนบน พินทุ์ อิ เป็นสระ อือ และประสมกับสระอื่นเป็นสระ เอือะ เอือ

(๙)ุเรียก ตีนเหยียด สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อุ

(๑๐)ู เรียก ตีนคู้ สำหรับเขียนข้างล่างเป็นสระ อู

(๑๑)เ เรียก ไม้หน้า สำหรับเขียนข้างหน้า รูปเดียวเป็นสระ เอ สองรูปเป็นสระ แอ และประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอะ แอะ เอาะ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือ เอา

(๑๒)ใ เรียก ไม้ม้วน สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ ใอ

(๑๓)ไ เรียก ไม้มลาย สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ ไอ

(๑๔)โ เรียก ไม้โอ สำหรับเขียนข้างหน้าเป็นสระ โอ และเมื่อประวิสรรชนีย์เข้าเป็นสระ โอะ

(๑๕)อ เรียกตัว ออ สำหรับเขียนข้างหลังเป็นสระ ออ และประสมกับรูปอื่นเป็นสระ อือ (เมื่อไม่มีตัวสะกด) เออะ เออ เอือะ เอืย

(๑๖)ย เรียกตัว ยอ สำหรับประสมกับรูปอื่นเป็นสระ เอียะ เอีย