หน้า:เทศาภิบาล - ดำรง - ๒๔๙๘.pdf/55

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๕๐

ประกอบกันทุกสถาน

ในชั้นแรก ข้าพเจ้าเห็นแต่ ๒ คน คือ เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เวลานั้น ยังเป็นพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิชัย ซึ่งข้าพเจ้าได้วิสาสะเมื่อขึ้นไปตรวจหัวเมืองเหนือ เห็นลาดเลาเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถมาแต่ครั้งนั้น คน ๑ กับนายพลตรี พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต) ซึ่งข้าพเจ้าได้เคยวิสาสะ เห็นคุณวุฒิมาแต่เป็นนายทหารมหาดเล็กด้วยกัน อีกคน ๑ ทูลเสนอ พระเจ้าอยู่หัวก็โปรด จึงทรงตั้งพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรเป็นผู้บัญชาการมณฑลพิษณุโลก ให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉทเป็นผู้บัญชาการมณฑลปราจีน และขนานนามตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลให้เรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาล ให้ผิดกับคำ ข้าหลวง ซึ่งไปทำการชั่วคราว และให้เรียกได้ทั้งเจ้านายและขุนนางผู้เป็นตำแหน่งนั้น (ถึงรัชกาลที่ ๖ จึงเปลี่ยนเป็น สมุหเทศาภิบาล)

พอตั้งมณฑลได้ไม่ช้า ถึง ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ไทยก็เกิดวิวาทกับฝรั่งเศส เทศาภิบาลมณฑลปราจีนจัดส่งกำลังและเครื่องยุทธภัณฑ์ไปยังมณฑลชายแดนทางตะวันออกแข็งแรงรวดเร็วกว่าที่คนทั้งหลายคาด ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ของการตั้งมณฑล ถึงออกปากชมกันเป็นครั้งแรก แต่ในปีนั้น ยุ่งอยู่ด้วยเรื่องฝรั่งเศส ไม่สามารถจัดการอื่นตามหัวเมือง จนถึงปลาย พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ เมื่อยังไม่ได้รับกรม เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า และให้พระยาดัสกรปลาต (อยู่) ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ ณ เมืองหลวงพระบาง เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ แต่พระยาดัสกรฯ อยู่ในตำแหน่งไม่ช้า รู้สึกตัวว่า