และสังขารที่ไม่มีใจครอง ซึ่งเรียกว่า อนุปาทินนกสังขาร เช่น ภูเขา รถ เรือน เป็นต้น ทั้ง ๒ ประเภทนี้ย่อมเกิดขึ้นแลตั้งอยู่ เพราะเหตุตั้งขึ้นก็ต้องเป็นไปตามเหตุ แลยังต้องอาศัยปัจจัยภายนอก เช่น อาหารช่วยอุปถัมภ์ในปวัติกาล เหตุปัจจัยยังส่งอยู่เพียงไร สังขารทั้งหลายก็ยังเป็นไปอยู่เพียงนั้น ถ้าเหตุปัจจัยขาดลงโดยปรกติหรือถูกอะไรมาตัดรอนเสียในระหว่างในกาลใด สังขารก็ย่อมสลายไปในกาลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ที่เกิดมา เมื่อเหตุยังส่งผลอยู่ ก็เป็นไปได้ผ่านวัยทั้ง ๓ คือ ปฐมวัย ตอนต้น มัชฌิมวัย ตอนกลาง ปัจฉิมวัย ตอนหลัง เมื่อเหตุสิ้น ก็สิ้นไปด้วย หรือถ้าภัยอันตรายอันใดอันหนึ่งมาตัดรอนเสียในระหว่าง ก็สิ้นไปเสียก่อน ยังไม่ผ่านวัยครบทั้ง ๓ ได้ตลอด แม้ในเวลาเป็นไปอยู่ ก็ย่อมเป็นไปสะดวก กล่าวคือ มีสุขสบายบ้าง และเป็นไปไม่สะดวก กล่าวคือ มักได้เจ็บไข้ได้ทุกข์ยากบ้าง ตามอำนาจของเหตุ กล่าวคือ กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่ทำไว้ ทั้งในเวลาที่เป็นอยู่เล่าก็ย่อมมีอาการทั้ง ๓ ประจำอยู่เสมอ คือ การที่ไม่เที่ยง เพราะย่อมแปรไปเปลี่ยนไปอยู่เสมอ ซึ่งเรียกว่า อนิจฺจํ ๑ อาการที่ทนอยู่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ จึง
หน้า:เรื่องเมืองพิษณุโลก - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๖.djvu/12
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙