หน้า:เรื่องเมืองพิษณุโลก - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๖.djvu/40

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๗

วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ (ประมาณว่า ในปีจอ พ.ศ. ๑๙๐๗) สำเร็จเรียบร้อยแต่ ๒ พระองค์ คือ พระพุทธชินสีห์ กับพระศาสดา แต่พระพุทธชินราชนั้นต้องหล่อหลายครั้งจึงสำเร็จ แล้วเอาเศษทองที่เหลือหล่อพระพุทธรูป ๓ พระองค์นั้นหล่อเป็นพระพุทธรูปขนาดน้อยไว้อีกพระองค์ ๑ จึงเรียกกันว่า "พระเหลือ" ประดิษฐานไว้ในกุฎีที่ใต้ต้นโพธิ์สามเส้าซึ่งปลูกไว้ตรงที่หล่อพระพุทธรูป ๓ พระองค์นั้น กุฎีพระเหลือนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณร ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลก ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงหล่อจำลองพระพุทธชินราชมาเป็นประธานวัดเบญจมบพิตร โปรดให้ปลูกต้นโพธิ์ตรงที่หล่ออีกต้นหนึ่งต่อต้นโพธิ์สามเส้าลงมาข้างใต้ แล้วทรงหล่อพระเหลืออีกองค์ ๑ แต่โปรดให้ประดิษฐานไว้ให้ราษฎรบูชา ณ เมืองลับแล

ลักษณะของพระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์ แม้พิจารณาดูในบัดนี้ ก็เห็นได้ว่า เลือกเอาลักษณะที่งามในแบบ