หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/143

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๗๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

ภาคกลาง กสิกร ๑๐๐ คน ต้องเป็นหนี้ ๔๙.๑๗ คน

ภาคอีสาน กสิกร ๑๐๐ คน ต้องเป็นหนี้ ๑๐.๗๕ คน

ภาคเหนือ กสิกร ๑๐๐ คน ต้องเป็นหนี้ ๑๗.๘๓ คน

ภาคใต้ กสิกร ๑๐๐ คน ต้องเป็นหนี้ ๑๘.๒๕ คน

(สถิติจากบทความของ ดร.แสวง กุลทองคำ ในเศรษฐสาร เล่มที่ ๒๓ ปี ที่ ๒ ฉบับที่ ๙ ปักษ์แรก ๑ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

อัตราดอกเบี้ยในสมัยศักดินาที่ใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามที่ปรากฏในกฏหมายลักษณะกู้หนี้ บทที่ ๙ มีอัตราดังนี้ คือ

๑ เฟื้อง ต่อ ๑ ตำลึงในระยะเวลา ๑ เดือน

นั่นคือกู้เงิน ๔ บาทต้องเสียดอกเบี้ย ๑๒ สตางค์ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละได้ร้อยละ ๓๗.๕๐!

ลาลูแบร์ได้เล่าไว้ว่า ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ไม่มีกฏหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราและพวกนายเงินก็พากันเรียกดอกเบี้ยยกันอย่างสูงหามีจำกัดไม่

"แต่ในข้อนี้ลักษณะกู้หนี้บทที่ ๖๘ บัญญัติว่า หากอัตราดอกเบี้ยได้ตกลงกันกำหนดสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามปกติ อัตรานี้ จะใช้บังคับได้แต่เพียงเดือนหนึ่งเท่านั้น ภายหลังระยะเวลานี้ จะต้องลดลงให้เท่ากับอัตราหนึ่งเฟื้องต่อหนึ่งตำลึงซึ่งผิดกับข้อความที่ลาลูแบร์กล่าวไว้ หนังสือของลาลูแบร์โดยมากมีน้ำหนักน่าเชื่อเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ได้ จึสันนิษฐานว่า ข้อบัญญัติบทที่ ๖๘ ซึ่งห้ามมิให้เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานี้ได้ตราขึ้นภายหลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ หรืออีกนัยหนึ่งข้อบัญญัตินี้ เลิกใช้และมิได้ถือตามในทางปฏิบัติและที่จริงจะเห็นได้ภายหลังว่า ตลอดมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือในสมัยที่ข้อบัญญัติบทที่ ๖๘