หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/25

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๕๒  โฉมหน้าศักดินาไทย

บริพารที่ทํางานดีสัตย์ซื่อต่อราชวงศ์ของตนเองแล้วส่งออกไปเป็นข้าหลวงดูแลหัวเมืองเอกโทตรีจัตวาต่างพระเนตรพระกรรณ พวกขุนนางชุดใหม่เหล่านี้ขึ้นตรงต่อกษัตริย์ทั้งสิ้น พวกนี้ ในเมืองไทยเรียกกันว่า "เจ้าเมือง" หรือ "ผู้ว่าราชการเมือง" เมื่อกษัตริย์โปรดปรานเพราะรับใช้ได้คล่องและซื่อสัตย์ กษัตริย์ก็จะมอบอํานาจให้เป็นบําเหน็จ อํานาจที่ได้รับก็คืออํานาจเหนือที่นา อาจจะให้เป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ในกฏหมาย นั่นคือสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ศักดินา" โดยวิธีนี้ พวกเจ้าขุนมูลนายที่กินเมืองโดยการสืบสกุลจึงสลายตัวไป แต่ถึงอย่างไรก็ดี ผู้ที่ได้กินเมืองโดยการแต่งตั้งของกษัตริย์ก็ยังคงเป็นพวกวงศ์วานของเจ้าขุนมูลนายอยู่ดี เพราะมีเพียงพวกนี้เท่านั้นที่ได้รับการศึกษาอบรมและได้มีโอกาสได้เฝ้าแหนถวายตัว

รูปแบบทางการปกครองของศักดินาจึงเป็นรูปแบบการปกครองที่เริ่มต้นขึ้นด้วยการกระจายอํานาจ (Decentralization) และมาลงเอยด้วยการรวบอํานาจ (Centralization) เป็นที่สุด

๓) การต่อสู้ของชนชั้นทาสกสิกร และชาวนาเอกระ

ความขัดแย้งหลักของสังคมศักดินา ก็คือความขัดแย้งระหว่างชนชั้นศักดินาและชนชั้นชาวนาทั้งมวล การต่อสู้ของชนชั้นทั้งสองแม้จะลงเอยด้วยชัยชนะของฝ่ายศักดินาเจ้าที่ดิน แต่ชาวนาทั้งมวลผู้ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสก็ยังไม่ลดละความพยายามที่จะลุกขึ้นโค่นล้มอํานาจทางการเมืองของชนชั้นเจ้าที่ดิน จุดหมายขั้นพื้นฐานของการต่อสู้ของพวกชาวนาก็เพื่อช่วงชิงกรรมสิทธิในที่ดินอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สําคัญคืนมาเป็นกรรมสิทธิของชาวนาเอง ด้วยจุดหมายขั้นพื้นฐานเช่นนี้ ความ