หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/51

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๗๘  โฉมหน้าศักดินาไทย

เมื่อรัฐทาสทลายลงแล้ว ทาสก็กลายเป็นเสรีชนที่ทํางานอยู่บนผืนดินซึ่งตกมาเป็นกรรมสิทธิของตน พวกเสรีชนเหล่านี้ เมื่อได้อาศัยกําลังของอนารยชนทลายรัฐทาสแล้ว ก็คิดอ่านกําจัดอิทธิพลของพวกอนารยชนอันนี้ เช่นเดียวกับประชาชนเขมร เมื่ออาศัยกองทัพไทยช่วยทลายรัฐทรราชลงแล้วก็หาทางกําจัดอิทธิพลของไทยต่อไป ทั้งนี้ จะเห็นได้จากเมื่อคราวสมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปโจมตีได้เมืองนครธมในปีพ.ศ. ๑๙๓๖ จับอุปราชซึ่งเป็นลูกเจ้าแผ่นดินเขมรได้ เป็นอันว่าอํานาจของเจ้านายเขมรผู้ที่เคยทารุณประชาชนเขมรสูญสิ้นลง แต่ทางไทยก็ตั้งพระยาไชยณรงค์ขึ้นเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ ประชาชนเขมรจึงต้องเผชิญกับผู้ขูดรีดคนใหม่และคอยหาทางสลัดแอกอยู่ตลอดเวลง พอพวกญวนยกกองทัพมารบ พวกเขมรก็พากันอาศัยความขัดแย้งระหว่างไทยกับญวนในการปลดจากการขูดรีดของไทยโดยหันไปสร้างแนวร่วมกับญวน พระยาไชยณรงค์คุมสถานการณ์ไว้ไม่อยู่ ในที่สุดก็ได้รับคําสั่งจากอยุธยาให้ทิ้งเมืองเขมร ถึงในสมัยต่อมาคือในรัชกาลพระบรมราชาที่ ๒ กษัตริย์ไทยจะยกกองทัพไปยึดเมืองนครธมไว้ได้อีก (พ.ศ. ๑๙๗๕) แต่พระอินทรราชาโอรสของพระบรมราชาที่ ๒ ที่ออกไปปกครองเมืองเขมรในฐานะผู้พิชิตและขูดรีดคนใหม่ก็เชื่อกันว่าถูกพวกเขมรลอบปลงเสียในที่สุด

พวกเสรีชนของยุโรปที่คิดจะขจัดและป้องกันอิทธิพลของอนารยชนนี้ มิได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นบ้านเมืองหรือรัฐอย่างมีระเบียบ การป้องกันตนเองจึงไม่มีผลชะงัด ทางออกของพวกเสรีชนก็คือหันเข้าพึ่งผู้ที่มีกำลังและมั่งคั่ง มีป้อมปราการ (Chateau fort) มั่นคงทั้งนี้ เพราะพวกเขายังคงยึดมั่นในการพึ่งพาตัวบุคคล ยังมิได้คิดพึ่งกำลังของตนเองร่วมกันเช่นกรรมาชีพในยุคทุนนิยม!