หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/70

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๙๗ 

อ้างของฝ่ายนักประวัติศาสตร์ศักดินาได้โดยสิ้นเชิงแล้วว่าในสมัยสุโขทัยนั้นมีทาสแน่ๆ!

ส่วนร่องรอยของระบบทาสในสังคมไทยนั้น นอกจากเรื่องสรรพนามแล้ว ถ้าเราจะย้อนไปดูในประวัติศาสตร์เมื่อไทยเราตั้งมั่นอยู่ทางแคว้นไทยใหญ่ พวกนั้นก็ได้ปกครองกันเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยจํานวน ๑๙ รัฐ แต่ละรัฐมีหัวหน้าเรียกว่า "เจ้าฟ้า" รัฐทั้งสิบเก้านี้ ได้รวมกันเป็นรัฐเดียวแบบสหภาพเรียกว่า "สิบเก้าเจ้าฟ้า" ลักษณะของการรวมกันแบบนี้ เป็นลักษณะของการปกครองแบบ "ประชาธิปไตยของนายทาส" ซึ่งเคยมีใช้มาแล้วในยุโรป เป็นต้นว่ารัฐทาสของโรมันและกรีกตลอดจนอารยันในอินเดีย ในทางแคว้น "สิบสองเจ้าไทย" ก็มีลักษณะส่อไปในทางประชาธิปไตยของนายทาสเช่นเดียวกัน พ่อขุนบูลม (หรือที่ลากเข้าวัดเป็นบรม) ผู้เป็นบรรพบุรุษของไทยและลาว ตามพงศาวดารก็ว่าได้ส่งลูกชายเจ็ดคนไปสร้างบ้านแปลงเมืองคนละแหล่งคนละทิศ นั่นก็คือคุมพวกข้าทาสไปตั้งกลุ่มชาติกุลใหม่แยกออกไปต่างหาก อันเป็นลักษณะของระบบชาติกุลในยุคทาส ซึ่งก็ตกทอดมาจากปลายยุคชุมชนบุพกาล นี่ยังนับว่าดีที่ส่งผู้ชายออกไปตั้งชาติกุลเพราะการใช้ผู้ชายไปตั้งชาติกุลนั้นย่อมแสดงว่าสังคมไทยพัฒนารวดเร็วผ่านพ้นคติถือสตรีเป็นใหญ่ (Mother Right) มาแล้วโดยสิ้นเชิง ในเมืองเขมรการส่งคนออกไปตั้งชาติกุลหรือขยายชาติกุลในยุคทาส (ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕) พวกเขมรยังส่งผู้หญิงออกไปตั้งหรือขยายชาติกุลอยู่ด้วยซ้ำไป ซึ่งระบบการถือผู้หญิงเป็นใหญ่นี้เป็นระบบที่อยู่ในต้นยุคชุมชนบุพกาลสมัยที่ยังสมรสหมู่เหมือนสัตว์นั่นทีเดียว๒๘

ร่องรอยของระบบทาสในสังคมไทยอีกแห่งหนึ่งก็คือ ข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงตอนที่เล่าว่า "ได้ข้าศึก