หน้า:ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร - สนร - ๒๕๐๕.pdf/60

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๕

บ้านเมืองโดยยุติธรรม และรักษาความจงรักภักดีซื่อสัตย์ต่อกรุงเทพฯ สืบไป ครั้นมาภายหลัง แต่ครั้งนั้น แผ่นดินเมืองญวน เจ้าเวียดนามยาลอง คือ องเชียงสือ ได้เป็นเจ้า ตั้งตัวโตใหญ่ คิดการกำเริบต่าง ๆ ล่วงลามเข้ามาในเขตแดนเขมรหลายครั้ง เพราะเขตแดนเมืองญวนกับเมืองเขมรติดต่อกัน ภายหลัง องค์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชคิดกับพระยาพระเขมรผู้น้อย ๆ เห็นว่า จะพึ่งแผ่นดินเมืองญวนซึ่งอยู่ใกล้ดีกว่ากรุงเทพฯ แต่การนั้น จะให้พระยาจักรี พระยากลาโหม เห็นตามด้วยไม่ได้ จึงคิดการประทุษร้าย จับพระยาจักรี พระยากลาโหม ฆ่าเสีย แล้วก็ไปขอพึ่งญวน ถึงกระนั้น ถึงปี องค์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชก็ยังจัดเครื่องราชบรรณาการมีศุภอักษรแต่งให้พระยาพระเขมรคุมเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายทุกปีเนืองมาจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่องค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดีนักองค์ผู้เป็นพระเรียมทั้งสองไม่เห็นชอบด้วยนักองค์จัน เจ้าแผ่นดินเมืองเขมร ซึ่งเป็นสมเด็จพระเรียมผู้ใหญ่ มีอำนาจมากขึ้นด้วยพึ่งพิงอิงเมืองญวนซึงอยู่ใกล้ แลเอาใจใส่ให้องญวนมาอยู่เพื่อกำกับการทั้งปวงแล้ว จึงได้สมัครเข้าไปทำราชการอยู่ ณ กรุงเทพมหานครครั้งนั้น มีการงานสิ่งใด พระยาเสนาบดีก็ได้มาปรึกษาหารือเนือง ๆ ไม่มีความรังเกียจ เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกมาเป็นเจ้าปกครองแผ่นดินเมืองเขมร ครั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชาเลิกทัพกลับเข้าไปแล้ว ราชการเมืองเขมรก็มีสิทธิ์ขาดอยู่ในองค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดีทั้งสิ้นผู้เดียว ข้อราชการที่เมืองเขมรจะบอกเข้าไป จะเป็นแน่บ้างไม่แน่