หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
4
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับยศเป็นนายพันโท มีบรรดาศักดิ์เป็นพระทรงสุรเดช รับราชการสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงได้ยศเป็นนายพันเอก และได้รับบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็นพระยาทรงสุรเดช ในปี ๒๔๗๕ อันเป็นปีที่มีการปฏิวัติ พระยาทรงฯ มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร ท่านได้ร่วมมือกับเพื่อนนายทหารอาวุโส ๓ ท่าน และนายทหารผู้น้อย กับพลเรือน ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕[1] เป็นที่กล่าวกันมากว่า เจ้าคุณทรงฯ เป็น “มันสมอง” ของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในการยึดอำนาจในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕[2]
- ↑ เหตุการณ์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ขอให้ดูได้จากบันทึกพระยาทรงสุรเดชฯ ในตอนถัดไป
- ↑ สำนักงานหนังสือพิมพ์และเสรีภาพ นายหนหวย เจ้าฟ้าประชาธิปก, กรุงเทพฯ, ๒๔๙๑, หน้า ๑๓๑–๑๓๓
ในหนังสือของคณะผู้ก่อการที่หลวงศุภชลาศัยนำไปทูลเกล้า⟨ฯ⟩ ถวายพระปกเกล้าฯ เพื่อเชิญเสด็จกลับพระนคร ก็ลงนามผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารสามนาย มี- นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
- นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช
- นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์