หน้า:Bueanglang Kanpatiwat 2475.djvu/160

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
150
 

เมื่อเสร็จการประชุมก่อตั้งคณะราษฎรแล้ว ข้าพเจ้ากลับสยามในเดือนมีนาคมปีนั้นแล้ว เพื่อนที่ยังอยู่ในปารีสเลือกเฟ้นผู้ที่สมควรชวนร่วมคณะราษฎรต่อไป อีกประมาณ 2–3 เดือน เพื่อนที่ยังอยู่ปารีสได้ชวนนายทวี บุณยเกตุ นักศึกษาวิชาเกษตร และนายบรรจง ศรีจรูญ ไทยมุสลิมจากอียิปต์ที่มาเยือนปารีส ซึ่งรับภาระจัดตั้งไทยมุสลิมต่อไป อาทิ นายแช่ม มุสตาฟา (บุตรหัวหน้าศาสนาอิสลสามในไทย ที่รู้จักกันในนามว่า “ครูฟา” ต่อมานายแช่มเปลี่ยนนามสกุลว่า “พรหมยงค์” คล้าย ๆ นามสกุลข้าพเจ้า) ต่อมาได้ชวน ร.ต. สินธุ์ กมลนาวิน ร.น. นักศึกษาวิชาทหารเรือเดนมาร์กที่มาเยือนปารีส ต่อมาพระยาทรงสุรเดชได้มาดูงานทหารในฝรั่งเศส เพื่อนที่ยังอยู่ในปารีสจึงลองทาบทามว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อระบบสมบูรณาฯ ก็ได้ความว่า ไม่พอใจระบบนั้น แต่ยังมิได้ถูกชวนเข้าร่วมในคณะราษฎร ต่อจากนั้นเพื่อนที่ก่อตั้งในคณะราษฎรที่ปารีสก็ทยอยกันกลับสยาม ค่อย ๆ ชวนเพื่อนนักศึกษาที่เคยสังเกตไว้ในการสนทนากันเพียงเคร่า ๆ มิได้จำกัดเฉพาะนักศึกษาในฝรั่งเศสเท่านั้น ฉะนั้น ต่อมาในสยาม จึงได้ชวน ม.ล. อุดม สนิทวงศ์ นักศึกษาจากสวิตเซอน์แลนด์, ม.ล. กรี เดชาติวงศ์, นายสพรั่ง เทพหัสดินทร ณ อยุธยา และนายเล้ง ศรีสมวงศ์ นักศึกษาจากอังกฤษ ฯลฯ และเพื่อนทหารบก ทหารเรือ พลเรือน คนอื่น ๆ ในสยามในปลาย พ.ศ. 2474 จึงได้ชวนพระพยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเณย์ และมอบให้พระยาพหลฯ เป็นหัวหน้าคณะราษฎร”. . . . . . . . . .