หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/46

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
36
[เล่ม 6
ระบอบจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญในญี่ปุ่น

ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีชายผู้ประทุษร้ายซาเรวิตช์ (บัดนี้เป็นซาร์แล้ว) แห่งรัสเซียและกระทำให้พระองค์ทรงบาดเจ็บที่โอสึเมื่อปี 1891[1] มีความพยายามจะให้คดีนี้ถือเป็นคดีพิเศษเพื่อความมุ่งหมายทางการเมือง แต่ศาลยืนยันหนักแน่นที่จะตัดสินคดีตามมุมมองของกฎหมายแต่ประการเดียว และพิพากษาลงโทษผู้ประทุษร้าย ซึ่งมิใช่โทษประหารชีวิต (ดังที่รัฐบาลประสงค์) แต่เป็นจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นโทษสูงสุดตามกฎหมายในคดีเช่นนั้น ซาโต[2] เสริมว่า

"นี่มิใช่เพียงประเด็นทางเทคนิคที่มีความสำคัญอันน่าเร้าใจ แต่ยังเป็นหมุดหมายที่โดดเด่นอย่างยิ่งยวดในเส้นทางแห่งความก้าวหน้าของญี่ปุ่นในฐานะชาติที่ใช้ระบอบรัฐธรรมนูญทีเดียว ในคดีนี้ หลักการที่ว่า ฝ่ายตุลาการย่อมเป็นอิสระโดยสิ้นเชิงจากฝ่ายบริหารนั้น ได้รับการตั้งมั่นไว้อย่างถาวรและชัดเจนเป็นที่สุด"

มีบทบัญญัติหนึ่งซึ่งสำคัญยิ่งกว่า คือ มาตรา 59 ที่ว่า "การพิจารณาและพิพากษาคดีของศาล ให้กระทำโดยเปิดเผย

"อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นที่เกรงว่า การเปิดเผยเช่นนั้นจะกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยหรือการธำรงรักษาศีลธรรมของสาธารณชน จะงดการพิจารณาโดยเปิดเผยด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือด้วยคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมก็ได้"

จุดสำคัญที่ควรสังเกต ก็คือ ฝ่ายตุลาการญี่ปุ่นไม่มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ ดังที่ระบุไว้แล้วในส่วนก่อนหน้า อำนาจเช่นว่านั้นดำรงอยู่ทั้งหมดในองค์จักรพรรดิ

อนึ่ง ตามมาตรา 61 ศาลยุติธรรมโดยทั่วไปของญี่ปุ่นนั้นไม่มีเขตอำนาจในกรณีใด ๆ อันเป็น

"อรรถคดีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิซึ่งอ้างว่า ได้ถูกละเมิดด้วยมาตรการอันมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ทางปกครอง และซึ่งให้อยู่ในอำนาจของศาลคดีปกครองที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ"

เรื่องนี้เป็นผลให้อูเอฮาระ[3] ออกความเห็นไว้ว่า

"ในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ไม่มีจุดใดที่พิทักษ์รักษาสิทธิและ

  1. ดู เหตุการณ์ที่โอสึเมื่อวันที่ 29 เมษายน 1891 (ตามปฏิทินเก่า) (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. Satoh, H. (1914). Evolution of Political Parties in Japan: A Survey of Constitutional Progress. Tokyo: K.M. Kawakami. OCLC 259706032.  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. Op. cit., p. 132.
(356)