หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/73

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม 3]
63
ภาคผนวก

รายได้แผ่นดินนั้น ให้คณะกรรมการตรวจเงินตรวจสอบและรับรอง และให้รัฐบาลเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิพร้อมรายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการดังกล่าว

การจัดองค์กรและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงิน ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดต่างหาก

มาตรา 73 ในกาลอนาคตเมื่อปรากฏความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ การเสนอร่างเพื่อการนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิให้กระทำโดยพระราชบัญชา

ในกรณีข้างต้น มิให้สภาใดเปิดอภิปราย เว้นแต่มีสมาชิกอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมาประชุม และมิให้ผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างใด เว้นแต่ได้รับเสียงข้างมากเป็นอย่างน้อยสองในสามของสมาชิกที่มาประชุม

มาตรา 74 การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายราชวงศ์ ต้องเสนอเข้าสู่การพิจารณาปรึกษาของสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ

มิให้แก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติใด ๆ ของรัฐธรรมนูญนี้ด้วยกฎหมายราชวงศ์

มาตรา 75 ในช่วงที่มีการสำเร็จราชการแทนพระองค์ ห้ามจัดให้มีการแก้ไขปรับปรุงอย่างใดในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายราชวงศ์

มาตรา 76 บทกฎหมายที่มีอยู่ เช่น กฎหมาย กฎ พระราชกำหนด หรือจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม ให้คงมีผลบังคับต่อไป ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญนี้

บรรดาสัญญาหรือคำสั่งที่มีอยู่ ซึ่งก่อข้อผูกพันแก่รัฐบาล หรือซึ่งเกี่ยวโยงกับรายจ่าย ให้อยู่ในขอบเขตของมาตรา 67

2. พระราชกำหนดว่าด้วยสภาขุนนาง[1]

ตามบทบัญญัติอันชัดแจ้งของรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เราขอประกาศใช้พระราชกำหนดว่าด้วยสภาขุนนางฉบับนี้ตามคำแนะนำจากองคมนตรีสภาของเรา เรื่องวันเริ่มใช้บังคับนั้น เราจะออกคำสั่งพิเศษ[ต่อไป]

  • [พระนามาภิไธย]
  • [พระราชลัญจกร]

วันที่ 11 เดือนยี่ ปีเมจิที่ 22 [11 กุมภาพันธ์ 1889]

  1. ชื่อญี่ปุ่น คือ "貴族院令" (คิโซกูอิงเร) แปลตรงตัวว่า "คำสั่ง[เรื่อง]สภาขุนนาง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
(383)