หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/42

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——2——

เป็นกิจของประวัติศาสตร์[1] การกำหนดมาตราชั่งตวงวัดทางสังคมสำหรับปริมาณของสิ่งที่มีประโยชน์ก็เช่นกัน ความหลากหลายในมาตราวัดสินค้าส่วนหนึ่งเกิดจากความหลากหลายในธรรมชาติของวัตถุที่จะวัด อีกส่วนจากธรรมเนียม

ความมีประโยชน์ของสิ่งหนึ่งทำให้มันเป็นมูลค่าใช้สอย[2] ทว่าความมีประโยชน์นี้ไม่ได้ลอยอยู่ในอากาศ แต่ขึ้นอยู่กับสมบัติของกายสินค้า และเมื่อไม่มีก็จะหมดไป กายของสินค้าเองเช่นเหล็ก ข้าวสาลี เพชร ฯลฯ จึงเป็นมูลค่าใช้สอย คุณลักษณะนี้ไม่ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ใช้แรงงานมากน้อยเพียงใดให้ได้สมบัติใช้สอยมา ครั้นพิจารณามูลค่าใช้สอย สันนิษฐานเสมอว่าอยู่ในปริมาณที่แน่นอน เช่นนาฬิกาเป็นโหล ผ้าลินินเป็นหลา เหล็กเป็นตัน ฯลฯ มูลค่าใช้สอยของสินค้าเป็นเนื้อหาในสาขาวิชาของตัวเอง เรียกว่าวิทยาการสินค้า[3][a] มูลค่าใช้สอยเป็นจริงผ่านการใช้หรือการบริโภคเท่านั้น มูลค่าใช้สอยประกอบเป็นสาระทางวัตถุของความมั่งคั่ง ไม่ว่าอยู่ในรูปทางสังคมแบบใด ส่วนในสังคมรูปแบบที่เรากำลังจะพิจารณา มันยังเป็นพาหะทางวัตถุ —— ให้มูลค่าแลกเปลี่ยน

ในขั้นต้น มูลค่าแลกเปลี่ยนปรากฏเป็นความสัมพันธ์เชิงปริมาณ เป็นอัตราส่วนที่มูลค่าใช้สอยชนิดหนึ่งแลกเปลี่ยนได้มูลค่าใช้สอยอีกชนิด[4] เป็นความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนตามกาลเทศะเสมอ มูลค่าแลกเปลี่ยนจึงดูเหมือนสิ่งที่บังเอิญและสัมพัทธ์โดยสิ้นเชิง มูลค่าแลกเปลี่ยนซึ่งอยู่ภายใน


  1. „สิ่งต่าง ๆ มีเวอร์ชูในตัว (นี่เป็นคำเฉพาะที่บาร์บอนหมายถึงมูลค่าใช้สอย) ไม่ว่าอยู่แห่งใดก็มีเวอร์ชูเหมือนเดิม เช่นแม่เหล็กดึงดูดเหล็ก“ (เล่มเดิม หน้า 6) กว่าสมบัติดูดเหล็กของแม่เหล็กจะมีประโยชน์ ก็เมื่อมีการค้นพบขั้วแม่เหล็กผ่านสมบัตินั้นเอง
  2. „เวิร์ธธรรมชาติของสิ่งใดนั้นอยู่ที่ความสามารถในการสนองความจำเป็นหรือการอำนวยความสะดวกชีวิตมนุษย์“ (จอห์น ล็อก: „Some Considerations on the Consequences of the Lowering of Interest, 1691“ ใน „Works edit. Lond. 1777“ V. II. หน้า 28.) เรามักจะยังพบคำว่า „เวิร์ธ“ สำหรับมูลค่าใช้สอยและ „แวลู“ สำหรับมูลค่าแลกเปลี่ยนในงานเขียนอังกฤษจากศตวรรษที่ 17 ตรงตามเจตนารมณ์ของภาษาที่ชอบแสดงออกถึงสิ่งที่อยู่ตรงหน้าด้วยคำเจอร์แมนิกและสิ่งที่สะท้อนกลับด้วยคำโรมานซ์ทีเดียว
  3. ในสังคมกระฎุมพีมีนิติสมมติหนึ่งครอบงำอยู่ว่า ผู้ซื้อสินค้าทุกรายรอบรู้เรื่องสินค้าเยี่ยงสารานุกรม
  4. „มูลค่าประกอบด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่ง ระหว่างผลผลิตอย่างหนึ่งปริมาณเท่าหนึ่งกับอีกอย่างอีกเท่าหนึ่ง“ (เลอ โทรน: „De l'Intérêt Social“. Physiocrates, บ.ก. แดร์. ปารีส 1846. หน้า 889.)

  1. Warenkunde หรือ commodity science ในภาษาอังกฤษ แปลตามแนวคำศัพท์อย่างวิทยาการข้อมูล วิทยาการจัดการ ฯลฯ (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)