ดังนั้น ปริมาณของแรงงานอันจำเป็นทางสังคม หรือเวลาแรงงานอันจำเป็นทางสังคมเพื่อผลิตมูลค่าใช้สอยอย่างหนึ่งเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนดขนาดของมูลค่า[1] ในที่นี้โดยทั่วไปสินค้าแต่ละชิ้นถือเป็นตัวอย่างโดยเฉลี่ยของสินค้าชนิดนั้น[2] สินค้าซึ่งมีแรงงานปริมาณเท่ากัน หรือผลิตได้ในเวลาแรงงานเท่ากัน จึงมีมูลค่าขนาดเท่ากัน มูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่งกับมูลค่าของสินค้าอย่างอื่นใด ก็เป็นอย่างเช่นเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งนั้นกับเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตสินค้าอย่างอื่นใดนั้นเอง „ในฐานะมูลค่า สินค้าล้วนเป็นแค่เวลาแรงงานปริมาณเท่าใดเท่าหนึ่งซึ่งได้แข็งตัวเป็นก้อน“[3]
ขนาดของมูลค่าของสินค้าจึงคงที่ ตราบใดที่เวลาแรงงานที่ต้องใช้ผลิตนั้นคงที่ ทว่าอย่างหลังเปลี่ยนทุกครั้งที่พลังการผลิตของแรงงานเปลี่ยน ปัจจัยนานัปการกำหนดพลังการผลิตของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นระดับทักษะเฉลี่ยของคนงาน ระดับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ทางเทคโนโลยี การจัดระเบียบทางสังคมของกระบวนการผลิต ขอบเขตและประสิทธิผลของปัจจัยการผลิต หรือเงื่อนไขทางธรรมชาติ เป็นต้นว่า แรงงานปริมาณเดียวกันแสดงออกมาเป็นข้าวสาลี 8 บุชเชิลในฤดูกาลที่เป็นใจ แต่ได้เพียง 4 ในฤดูที่ไม่เป็นใจ แรงงานปริมาณเดียวกันในเหมืองที่อุดมสมบูรณ์สกัดโลหะได้มากกว่าในเหมืองที่พร่องแล้ว ฯลฯ เพชรหายากบนเปลือกโลก เฉลี่ยจึงต้องใช้เวลาแรงงานมากเพื่อหามา แรงงานปริมาณมากจึงแสดงออกมาในปริมาตรที่น้อย เจคอบตั้งข้อสงสัยไว้ว่าทองคำอาจไม่เคยถูกซื้อขายที่มูลค่าเต็มของมันเลย[a] ยิ่งกล่าวได้เช่นเดียวกันเกี่ยวกับเพชร อ้างอิงตามเอ็ชเวเกอ[b] ผลผลิตรวมทั้งสิ้นแปดทศวรรษของเหมืองเพชรบราซิล จวบปี 1823 ก็ยังไม่เทียบเท่าราคาของผลผลิตเฉลี่ยใน 11⁄2 ปีของ
- ↑ หมายเหตุในฉบับที่ 2 „The value of them (the necessaries of life) when they are exchanged the one for another, is regulated by the quantity of labour necessarily required, and commonly taken in producing them“. „มูลค่าของสิ่งของเครื่องใช้ เมื่อแลกเปลี่ยนกันนั้น กำหนดโดยปริมาณของแรงงานที่ต้องใช้และมักใช้ผลิตมัน“. („Some Thoughts on the Interest of Money in general, and particularly in the Public Funds etc.“. ลอนดอน. หน้า 36.) เอกสารนิรนามที่ไม่ธรรมดาชิ้นนี้เขียนขึ้นเมื่อร้อยปีก่อนแต่ไม่ระบุวันที่ แต่จากเนื้อหาปรากฏว่าเป็นรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 2 ประมาณปี 1739 หรือ 1740
- ↑ „แท้จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันประกอบกันเป็นมวลก้อนเดียว ซึ่งจะถูกกำหนดราคาโดยทั่วไป โดยไม่เจาะจงคำนึงถึงเฉพาะกรณี“. (เลอ โทรน เล่มเดิม หน้า 893.)
- ↑ คาร์ล มาคส์ เล่มเดิม หน้า 6.
- ↑ Jacob, William (1831). An Historical Inquiry Into the Production and Consumption of the Precious Metals 2. น. 101. (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ หมายถึง Wilhelm Ludwig von Eschwege โดยทาง Merivale, H.A.M. (1841). Lectures on Colonization and Colonies 1. น. 52n. (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)