หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/56

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——16——

สินค้าเดียวกันจึงไม่สามารถปรากฏอยู่ในทั้งสองรูปพร้อมกันได้ในการแสดงออกมูลค่าเดียวกัน รูปเหล่านี้กีดกันกันเองเหมือนขั้วตรงข้าม

สินค้าอย่างหนึ่งจะอยู่ในรูปมูลค่าสัมพัทธ์หรือตรงข้ามในรูปสมมูล ขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงออกมูลค่าแต่ละครั้งเท่านั้น กล่าวคือขึ้นกับว่ามูลค่าที่แสดงออกมาเป็นของสินค้า หรือว่าเป็นสินค้าที่ใช้แสดงมูลค่าออกมา

2) รูปมูลค่าสัมพัทธ์

a) เนื้อหาของรูปมูลค่าสัมพัทธ์

เพื่อสืบค้นว่าการแสดงออกมูลค่าแบบเรียบง่ายอยู่ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้าทั้งสองอย่างไร ก่อนอื่นต้องพิจารณาอย่างหลังแยกจากแง่มุมเชิงปริมาณโดยสิ้นเชิง ในความสัมพันธ์มูลค่า เรามักทำตรงข้ามและมองที่อัตราส่วนของปริมาณที่แน่นอนของสินค้าสองชนิดที่นับว่าเสมอกัน เรามองข้ามว่าเราจะสามารถเปรียบเทียบปริมาณของสิ่งที่แตกต่างกันได้เฉพาะหลังจากลดทอนเป็นหน่วยเดียวกันแล้ว ต้องแสดงออกในหน่วยเดียวกันถึงมีตัวหารเดียวกัน แล้วจึงจะเทียบขนาดกันได้[1][a]

ไม่ว่าผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือ 20 ตัวหรือ ตัว ไม่ว่าผ้าลินินปริมาณหนึ่งจะมีค่าเป็นเสื้อคลุมมากน้อยเท่าใดก็ตาม อัตราส่วนเหล่านี้ล้วนบ่งบอกว่า ในฐานะขนาดของมูลค่า ผ้าลินินกับเสื้อคลุมเป็นการแสดงออกของหน่วยเดียวกัน เป็นสิ่งของที่มีธรรมชาติเหมือนกัน ผ้าลินิน เสื้อคลุม คือฐานของสมการ

แต่สินค้าที่เสมอกันเชิงคุณภาพทั้งสองไม่ได้แสดงบทบาทเดียวกัน มูลค่าของผ้าลินินเท่านั้นที่ได้แสดงออกมา แล้วอย่างไร? ผ่านความสัมพันธ์กับเสื้อคลุมซึ่งเป็น "สิ่งสมมูล" หรือเป็น "สิ่งที่แลกเปลี่ยนได้" กับผ้าลินิน ในความสัมพันธ์นี้ เสื้อคลุมเป็นรูปดำรงอยู่ของมูลค่า ในฐานะสิ่งของมูลค่า เพราะดังเช่นนี้เท่านั้นจึงจะเป็นสิ่งเดียวกับผ้าลินิน ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นมูลค่าของผ้าลินินเผยตัวหรือแสดงออกมาโดยลำพัง เพราะ

  1. มีนักเศรษฐศาสตร์ไม่กี่คน เช่นซามูเอล เบย์ลีย์ ที่ใส่ใจวิเคราะห์รูปมูลค่า แต่ไม่สำเร็จ ประการแรกเพราะสับสนรูปมูลค่ากับมูลค่า ประการที่สอง เพราะใต้อิทธิพลหยาบ ๆ ของกระฎุมพีภาคปฏิบัติ จึงจับตามองความจำเพาะเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ต้น „ความสามารถของปริมาณ …. ประกอบเป็นมูลค่า“. („Money and its Vicissitudes“. ลอนดอน 1837, หน้า 11). ผู้เขียน ซามูเอล เบย์ลีย์.

  1. ในหมายเหตุนี้ ประโยคเต็มกล่าวว่า ด้วยความสามารถของปริมาณคือการเป็นสิ่งที่ประกอบมูลค่า จะต้องใช้ปริมาณที่แน่นอนของสินค้าเอกรูปอย่างหนึ่งเป็นหน่วยวัดมูลค่า Bailey, Samuel (1837). Money and Its Vicissitudes in Value. น. 11. The command of quantity being that which constitutes value, a definite quantity of some uniform commodity must be used as a unit to measure value;  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)