หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/57

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——17——

เสื้อคลุมในฐานะมูลค่าเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นสิ่งที่สมมูลหรือแลกเปลี่ยนกับผ้าลินินได้ เหมือนที่กรดบิวทิริกเป็นสารที่แตกต่างจากโพรพิลฟอร์เมต แม้ทั้งสองจะประกอบจากสารเคมีที่เหมือนกัน —— คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) และอันที่จริงมีส่วนประกอบร้อยละเดียวกัน คือ C4H8O2 หากเราจับโพรพิลฟอร์เมตเสมอกับกรดบิวทิริก ประการแรก ในความสัมพันธ์นี้ โพรพิลฟอร์เมตนับเป็นเพียงรูปดำรงอยู่ของ C4H8O2 ประการที่สอง กล่าวได้ว่ากรดบิวทิริกประกอบจาก C4H8O2 เหมือนกัน การจับโพรพิลฟอร์เมตเสมอกับกรดบิวทิริกจึงเป็นเพียงการแสดงออกส่วนประกอบทางเคมี มากกว่าจะเป็นการแสดงออกรูปทางกาย[a]

หากเรากล่าวว่า: สินค้า ในฐานะมูลค่า เป็นเพียงวุ้นของแรงงานมนุษย์ เราวิเคราะห์ลดทอนมันเป็นนามธรรมว่ามูลค่า แต่มันไม่ได้รูปมูลค่าที่แตกต่างจากจากรูปธรรมชาติมา แต่ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้าอย่างหนึ่งกับสินค้าอีกอย่าง ลักษณะมูลค่าของอย่างแรกโผล่ออกมาผ่านความสัมพันธ์ที่มีกับอย่างหลัง

การจับเสื้อคลุมในฐานะสิ่งของมูลค่าเสมอกับผ้าลินินเป็นต้น จึงเป็นการจับแรงงานข้างในอย่างแรกเสมอกับแรงงานข้างในอย่างหลัง จริงที่การตัดเย็บ ซึ่งผลิตเสื้อคลุม กับการถักทอ ซึ่งผลิตผ้าลินิน เป็นแรงงานรูปธรรมคนละชนิด แต่ในความเป็นจริง การจับมาเสมอกับการถักทอลดทอนการตัดเย็บเป็นสิ่งที่เสมอกันจริง ๆ ในแรงงานทั้งสอง คือลักษณะร่วมของการเป็นแรงงานมนุษย์ กล่าวอ้อมต่อได้ว่า การถักทอ ตราบที่ถักทอมูลค่า ก็ปราศจากรอยตำหนิให้แยกแยะจากการตัดเย็บได้ จึงเป็นแรงงานมนุษย์นามธรรม การแสดงออกว่าสินค้าต่างชนิดเสมอกันเท่านั้นที่เปิดเผยลักษณะเฉพาะของแรงงานที่ก่อสร้างมูลค่า ด้วยการลดทอนแรงงานต่างชนิดในสินค้าต่างชนิดเป็นสิ่งที่มีร่วมกันในความเป็นจริง ว่าเป็นแรงงานมนุษย์โดยทั่วไป[1]


  1. หมายเหตุในฉบับที่ 2 หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์คนแรก ๆ หลังวิลเลียม เพตตี ที่มองทะลุธรรมชาติของมูลค่า คือแฟรงคลินผู้เรืองนาม เขากล่าวว่า: „เพราะการค้าโดยทั่วไปใช่สิ่งใดแต่เพียงการแลกเปลี่ยนแรงงานอย่างหนึ่งกับแรงงานอีกอย่าง มูลค่าของสรรพสิ่งวัดได้เที่ยงที่สุดด้วยแรงงาน“ („The Works of B. Franklin etc., edited by Sparks“) บอสตัน 1836, เล่ม II, หน้า 267.) แฟรงคลินเองไม่ตระหนักว่าในการวัดมูลค่าของสรรพสิ่ง „ด้วยแรงงาน“ เขากำลังเพิกจากความแตกต่างของแรงงานที่แลกเปลี่ยนกัน —— และจึงกำลังลดทอนมันเป็นแรงงานมนุษย์ที่เท่ากัน แม้ไม่ทราบแต่เขาก็ได้กล่าวออกมา เขาพูดถึง „ของแรงงานอย่างหนึ่ง“ ก่อน แล้วจากนั้น „ของแรงงานอีกอย่าง“ และลงท้ายด้วย „แรงงาน“ โดยไม่มีคำขยายเสริม ในฐานะแก่นสารของมูลค่าสรรพสิ่ง

มาคส์, ทุน 1 ฉบับที่ 42


  1. กรดบิวทิริกกับโพรพิลฟอร์เมตมีสูตรโมเลกุลเดียวกัน (C4H8O2) แต่มีโครงสร้างโมเลกุลต่างกัน (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)