หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/59

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——19——

ความเป็นมูลค่าของผ้าลินินปรากฏในความเสมอภาคกับเสื้อคลุม อย่างที่สันดานแกะของคริสตชนปรากฏในความเสมอภาคกับพระเมษโปดก

บทวิเคราะห์มูลค่าสินค้าที่ผ่านมาบอกอะไร เราเห็นว่า ผ้าลินินเองบอกทันทีที่มีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าอื่นเช่นเสื้อคลุม แต่แสดงความคิดตัวเองออกมาเฉพาะในภาษาที่มันเข้าใจคนเดียว คือภาษาของสินค้า เพื่อบอกว่าแรงงานสร้างมูลค่าของมันด้วยสมบัตินามธรรมของแรงงานมนุษย์ ผ้าลินินบอกว่าเสื้อคลุม ตราบที่เสมอกัน จึงเป็นมูลค่า และประกอบจากแรงงานเดียวกันกับผ้าลินิน เพื่อบอกว่าวัตถุภาวะมูลค่าที่เลิศล้ำของตนแตกต่างจากกายที่แข็งกระด้าง ผ้าลินินบอกว่ามูลค่ามีหน้าตาเหมือนเสื้อคลุม แล้วในฐานะสิ่งมีมูลค่า ผ้าลินินและเสื้อคลุมจึงเหมือนกันอย่างกับแกะ อนึ่ง นอกจากภาษาฮีบรู ภาษาของสินค้ายังมีอีกหลายสำเนียงที่พอถูกต้องอยู่ คำว่า „แวร์ทไซน์“ ในภาษาเยอรมันเป็นต้นถ่ายทอดนัยที่การจับสินค้า เสมอกับสินค้า เป็นการแสดงออกมูลค่าของสินค้า ได้ไม่ชัดเจนเท่าคำกริยาอย่าง วาเลเร บาเลร์ กับวาลัวร์ในภาษาตระกูลโรมานซ์ ปารี โว เบียง อูน แม็ส![a]

ด้วยความสัมพันธ์มูลค่า รูปธรรมชาติของสินค้า กลายเป็นรูปมูลค่าของสินค้า หรือว่า กายของสินค้า กลายเป็นกระจกสะท้อนมูลค่าของสินค้า [1] การที่สินค้า มีความสัมพันธ์กับสินค้า ในฐานะกายของมูลค่า ในฐานะแรงงานมนุษย์ซึ่งกลายเป็นวัตถุ ทำให้มูลค่าใช้สอย กลายเป็นวัสดุที่แสดงออกมูลค่าของมัน มูลค่าของสินค้า ที่แสดงออกเป็นมูลค่าใช้สอยของสินค้า มีรูปเป็นมูลค่าสัมพัทธ์

b) ความแน่นอนเชิงปริมาณของรูปมูลค่าสัมพัทธ์

สินค้าที่จะแสดงออกมูลค่า ล้วนเป็นวัตถุใช้สอยปริมาณหนึ่ง ข้าวสาลี 15 เช็ฟเฟิล กาแฟ 100 ปอนด์ ฯลฯ สินค้าปริมาณหนึ่งมีแรงงานมนุษย์ปริมาณแน่นอนเท่าหนึ่ง รูปมูลค่าจึงต้องไม่แสดงออกเพียงมูลค่าโดยทั่วไป แต่


  1. ในแง่หนึ่ง มนุษย์เป็นไปเหมือนสินค้า ไม่ได้อุบัติบนโลกมาพร้อมกระจก หรือเป็นนักปรัชญาแนวฟิชเทอว่าฉันคือฉัน มนุษย์สะท้อนตัวเองในมนุษย์คนอื่นก่อน ด้วยความสัมพันธ์กับมนุษย์เพาล์ในฐานะผู้เสมอกันก่อน มนุษย์เพเทอร์ถึงสัมพันธ์กับตนเองในฐานะมนุษย์ แต่ด้วยการนี้ เพาล์ ผิวหนังและเส้นผมของเพาล์ เพาล์ในรูปขันธ์ของเพาล์ กลายเป็นรูปปรากฏของสปีชีส์มนุษย์สำหรับเพเทอร์

2*  


  1. "ปารีสมีค่าพอให้ร่วมมิสซา" ข้อความที่อ้างว่ากล่าวโดยพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส หมายถึง ยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอลิกแลกกับการได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์ที่ปารีส (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)