หน้า:Das Kapital Kritik der politischen Oekonomie Erster Band.djvu/60

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
——20——

ต้องแสดงออกมูลค่าในปริมาณที่แน่นอน หรือขนาดของมูลค่า ดังนั้น ในความสัมพันธ์มูลค่าของสินค้า ต่อสินค้า หรือผ้าลินินต่อเสื้อคลุม สินค้าชนิดเสื้อคลุมไม่ได้เสมอกับผ้าลินินแค่ในเชิงคุณภาพ ในฐานะกายของมูลค่าเท่านั้น แต่ยังเสมอกับผ้าลินินในปริมาณที่แน่นอน อาทิผ้าลินิน 20 หลา ในฐานะกายของมูลค่าหรือสิ่งสมมูลในปริมาณที่แน่นอน อาทิเสื้อคลุม 1 ตัว

สมการ: „ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว หรือว่า ผ้าลินิน 20 หลามีค่าเป็นเสื้อคลุม 1 ตัว“ สันนิษฐานว่ามีแก่นสารของมูลค่าอยู่ในเสื้อคลุม 1 ตัวมากเท่ากับในผ้าลินิน 20 หลาพอดี และว่าปริมาณของสินค้าทั้งสองจึงใช้แรงงานมากเท่ากันหรือเวลาแรงงานปริมาณเดียวกัน ทว่าเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินิน 20 หลากับเสื้อคลุม 1 ตัวเปลี่ยนไปทุกครั้งที่พลังการผลิตของการถักทอกับการตัดเย็บเปลี่ยนไป เราควรสอบสวนโดยละเอียดถึงอิทธิพลที่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีต่อการแสดงออกขนาดของมูลค่าในเชิงสัมพัทธ์

I. ให้มูลค่าของผ้าลินินเปลี่ยน[1] ขณะที่มูลค่าของเสื้อคลุมคงที่ หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินทวีคูณ อาจเนื่องจากการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ในดินเพาะปลูกป่านลินิน มูลค่าของผ้าลินินก็จะทวีคูณ เราจะได้ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว แทนที่ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว เพราะตอนนี้เสื้อคลุม 1 ตัวประกอบด้วยเวลาแรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของผ้าลินิน 20 หลา ในทางตรงข้าม หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินหดตัวเหลือครึ่งหนึ่ง อาจเนื่องจากการพัฒนากี่ทอผ้า มูลค่าของผ้าลินินก็จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ดังนั้นคราวนี้: ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 12 ตัว มูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้า หรือมูลค่าที่แสดงออกเป็นสินค้า จึงเพิ่มขึ้นและลดลงโดยตรงตามมูลค่าของสินค้า เมื่อมูลค่าของสินค้า คงเดิม

II. ให้มูลค่าของผ้าลินินคงที่ ขณะที่มูลค่าของเสื้อคลุมเปลี่ยน ด้วยเงื่อนไขนี้ หากเวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตเสื้อคลุมทวีคูณ อาจเนื่องจากผลผลิตขนแกะไม่เป็นใจ เราจะได้ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 12 ตัว แทนที่ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัว ในทางตรงข้าม หากมูลค่าของเสื้อคลุมลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ก็จะได้ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว เมื่อมูลค่าของสินค้า คงเดิม มูลค่าสัมพัทธ์ที่แสดงออกเป็นสินค้า จึงเพิ่มขึ้นและลดลงผกผันกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของ

หากเราเปรียบเทียบแต่ละกรณีในข้อ I และ II 

  1. คำว่า „มูลค่า“ ตรงนี้ ดังที่ปรากฏผ่านมาอย่างประปรายก่อนหน้านี้ หมายถึงมูลค่าที่แน่นอนเชิงปริมาณ ฉะนั้นหมายถึงขนาดของมูลค่า