ปรากฏว่าขนาดของมูลค่าสัมพัทธ์สามารถเปลี่ยนไปในทางเดียวกันจากเหตุตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ตัวจึงกลายเป็น: 1) ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 2 ตัว เพราะมูลค่าของผ้าลินินทวีคูณหรือเพราะมูลค่าของเสื้อคลุมลดลงครึ่งหนึ่ง และ 2) ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1⁄2 ตัว เพราะมูลค่าของผ้าลินินลดลงครึ่งหนึ่งหรือเพราะมูลค่าของเสื้อคลุมเพิ่มขึ้นสองเท่า
III. ให้ปริมาณแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินกับเสื้อคลุมเปลี่ยนไปพร้อมกันในทิศทางและอัตราส่วนเดียวกัน ในกรณีนี้ ไม่ว่ามูลค่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ผ้าลินิน 20 หลา เสื้อคลุม 1 ดังก่อน เราจะตรวจเจอว่ามูลค่าเปลี่ยนไปก็ต่อเมื่อเอามาเปรียบเทียบกับสินค้าอย่างที่สามซึ่งมูลค่าคงที่ หากมูลค่าของสินค้าทั้งปวงขึ้นลงพร้อมกันในอัตราส่วนเดียวกัน มูลค่าสัมพัทธ์ก็จะไม่เปลี่ยนและคงเดิม เราจะทราบการเปลี่ยนแปลงจริงของมูลค่าจากการขึ้นลงของปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ภายในเวลาแรงงานเดียวกันเมื่อเทียบกับแต่ก่อน
IV. ให้เวลาแรงงานอันจำเป็นในการผลิตผ้าลินินกับเสื้อคลุมตามลำดับ ฉะนั้นมูลค่าเหล่านี้ เปลี่ยนไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน แต่ในระดับที่ไม่เท่ากัน หรือในทิศทางตรงข้าม ฯลฯ อิทธิพลของส่วนผสมที่เป็นไปได้ทั้งหมดสามารถพลิกแพลงหาจากกรณีต่าง ๆ ในข้อ I. II. และ III. ได้โดยง่าย
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงจริงในขนาดของมูลค่าจึงไม่สะท้อนออกมาอย่างแจ่มแจ้งหรือถี่ถ้วนในการแสดงออกเชิงสัมพัทธ์หรือขนาดของมูลค่าสัมพัทธ์ มูลค่าสัมพัทธ์ของสินค้าอาจเปลี่ยนไปแม้มูลค่าคงที่ มูลค่าสัมพัทธ์อาจคงที่แม้มูลค่าเปลี่ยนไป และสุดท้าย ขนาดของมูลค่าและการแสดงออกขนาดของมูลค่าในเชิงสัมพัทธ์อาจเปลี่ยนไปพร้อมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกันแต่อย่างใด[1]
- ↑ หมายเหตุในฉบับที่ 2 เศรษฐศาสตร์แบบหยาบฉวยประโยชน์จากความไม่สอดคล้องกันระหว่างขนาดของมูลค่ากับการแสดงออกเชิงสัมพัทธ์ด้วยไหวพริบที่คุ้นเคย เช่น: „เมื่อยอมรับว่า A ตกเพราะ B ซึ่งแลกเปลี่ยนกับมัน ขึ้น แม้ในขณะเดียวกัน A ไม่ได้ใช้แรงงานน้อยลง แล้วหลักการมูลค่าทั่วไปของคุณก็จะพังครืน … หากยอมรับว่าเมื่อมูลค่าของ A เพิ่มขึ้นสัมพัทธ์กับ B แล้วมูลค่าของ B ลดลงสัมพัทธ์กับ A รากฐานตั้งมั่นของประพจน์อันยิ่งใหญ่ของริคาร์โด ว่ามูลค่าของสินค้ากำหนดโดยปริมาณของแรงงานที่ใส่ไว้ข้างในเสมอ จะขาดสะบั้น เพราะเมื่อการเปลี่ยนแปลงในต้นทุนของ A ไม่เพียงแต่เปลี่ยนมูลค่าของตัวเองในความสัมพันธ์กับ B ซึ่งแลกเปลี่ยนกับมัน แต่ยังเปลี่ยนมูลค่าของ B สัมพัทธ์กับ A แม้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปริมาณแรงงานซึ่งต้องใช้ในการผลิต B แล้วใช่แต่หลักนั้น ซึ่งยืนยันว่าปริมาณของแรงงานที่ใช้ในสิ่งหนึ่งกำกับมูลค่าของมัน ที่พังครืน แต่หลักว่าต้นทุนการผลิตของสิ่งหนึ่งกำกับมูลค่าของมันเช่นเดียวกัน“ (จอห์น บรอดเฮิสต์: „Political Economy“, ลอนดอน 1842, หน้า 11, 14.)
นายบรอดเฮิสต์สามารถกล่าวได้ไม่ต่างกันว่า: หากเราพิจารณาอัตราส่วนของตัวเลข 10⁄20, 10⁄50, 10⁄100 ฯลฯ เลข 10 คงที่ไม่เปลี่ยน แต่ถึงอย่างนั้น ขนาดตามสัดส่วน หรือขนาดเชิงสัมพัทธ์กับตัวหาร 20, 50, 100 กลับลดลงอย่างสม่ำเสมอ หลักการอันยิ่งใหญ่ว่าขนาดของจำนวนเต็ม อาทิ 10 „กำกับ“ โดยจำนวนของเลขหนึ่งซึ่งมีอยู่ข้างใน จึงพังครืน