ที่จะหารูปมูลค่ามาให้ตัวเองก็ว่าได้ และทำได้โดยไม่ต้องพึ่งสินค้าอื่นซึ่งเล่นแค่บทบาทฝ่ายรับเป็นสิ่งสมมูล ในทางกลับกัน รูปมูลค่าทั่วไปเป็นการร่วมกันทำงานของโลกแห่งสินค้า สินค้าอย่างหนึ่งมีการแสดงออกมูลค่าแบบทั่วไปเพียงเพราะในขณะเดียวกันนั้นเอง สินค้าอื่นทั้งหมดแสดงออกมูลค่าเป็นสิ่งสมมูลอย่างเดียวกัน และสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่ทุกชนิดจำต้องทำตาม ด้วยการนั้นเป็นที่ประจักษ์ว่าวัตถุภาวะมูลค่าของสินค้า เพราะเป็นเพียง „การมีอยู่ทางสังคม“ ของสิ่งนั้น สามารถแสดงออกผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมทั่วสารทิศเท่านั้น รูปมูลค่าจึงต้องเป็นรูปที่ใช้ได้ทางสังคม
สินค้าทั้งปวงในรูปที่เสมอกับผ้าลินิน ตอนนี้ใช่แค่ปรากฏเสมอกันเชิงคุณภาพ คือเป็นมูลค่าโดยทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันยังปรากฏเป็นขนาดของมูลค่าที่เปรียบเทียบกันเชิงปริมาณได้ เพราะสินค้าสะท้อนขนาดของมูลค่าในวัสดุอันหนึ่งอันเดียวกัน คือผ้าลินิน ขนาดของมูลค่าจึงสะท้อนซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ชา 10 ปอนด์ ผ้าลินิน 20 หลา และ กาแฟ 40 ปอนด์ ผ้าลินิน 20 หลา ดังนั้น ชา 10 ปอนด์ กาแฟ 40 ปอนด์ หรือว่ามีแก่นสารของมูลค่า คือแรงงาน อยู่ในกาแฟ 1 ปอนด์เพียง 1⁄4 เท่าของที่มีอยู่ในชา 1 ปอนด์
รูปมูลค่าสัมพัทธ์แบบทั่วไปของโลกแห่งสินค้าประทับลักษณะของสิ่งสมมูลแบบทั่วไปให้สินค้าสมมูลเฉพาะอย่าง คือผ้าลินิน ซึ่งรูปธรรมชาติเป็นร่างของมูลค่าที่โลกใบนั้นมีร่วมกัน ผ้าลินินจึงแลกเปลี่ยนได้โดยตรงกับสินค้าอื่นทั้งหมด รูปกายของผ้าลินินนับเป็นอวตารที่มองเห็นได้ เป็นระยะดักแด้ทางสังคมของแรงงานมนุษย์ทั้งปวงโดยทั่วกัน ในขณะเดียวกัน แรงงานเอกชนที่ผลิตผ้าลินินหรือว่าการถักทออยู่ในรูปทางสังคมทั่วไป คือรูปที่เสมอกับแรงงานอื่นทั้งหมด สมการจำนวนนับไม่ถ้วนที่ประกอบรูปมูลค่าทั่วไปจับแรงงานที่กลายเป็นจริงในผ้าลินินเสมอกับแรงงานที่มีอยู่ในสินค้าอื่นทั้งหมด และทำให้การถักทอกลายเป็นรูปปรากฏทั่วไปของแรงงานมนุษย์โดยทั่วไปด้วยการนั้น ในทางเดียวกัน แรงงานซึ่งกลายเป็นวัตถุในมูลค่าสินค้าใช่เพียงแต่แสดงเป็นแรงงานเชิงลบ ซึ่งเพิกจากรูปเชิงรูปธรรมและสมบัติอันมีประโยชน์ของแรงงานจริง ธรรมชาติเชิงบวกของแรงงานก้าวออกมาอย่างโจ่งแจ้ง ว่าเป็นการลดทอนแรงงานจริงทั้งปวงเป็นลักษณะที่มีร่วมกันของแรงงานมนุษย์ คือเป็นการใช้จ่ายพลังแรงงานมนุษย์
มาคส์, ทุน 1 ฉบับที่ 43