หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/21

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
15
บทนำ

ไม่ว่าค่าจ้างเป็นรายเวลาหรือรายชิ้นคืออะไร? นายทุนจะพากรรมกรไปยังที่ทำงานหรือโรงงานของเขา ซึ่งมีสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นทั้งหมดสำหรับงาน——วัตถุดิบ วัสดุเสริม (ถ่านหิน สีย้อม ฯลฯ) เครื่องมือ และเครื่องจักร ที่นี่คนงานเริ่มทำงาน ดังข้างบน ค่าจ้างรายวัน 3 เหรียญ และจะเป็นค่าจ้างรายวันหรือรายชิ้นงานก็ไม่ต่างกัน เราสมมุติอีกว่าในเวลาสิบสองชั่วโมง คนงานเพิ่มมูลค่าใหม่ 6 เหรียญให้มูลค่าของวัตถุดิบที่ใช้ไปด้วยแรงงานของเขา ซึ่งนายทุนทำให้มูลค่าใหม่กลายเป็นจริงผ่านการขายชิ้นงานสำเร็จ จากมูลค่าใหม่นี้ เขาจ่ายค่าจ้างคนงาน 3 เหรียญ และเก็บที่เหลืออีก 3 เหรียญไว้กับตัวเอง อย่างนี้แล้วหากกรรมกรสร้างมูลค่า 6 เหรียญในสิบสองชั่วโมง ในหกชั่วโมงเขาจะสร้างมูลค่า 3 เหรียญ ด้วยเหตุนี้ กรรมกรจึงทำงานให้นายทุนหกชั่วโมงซึ่งมีค่าเท่ากับค่าจ้าง 3 เหรียญที่เขาได้รับ หกชั่วโมงผ่านไป ทั้งสองฝ่ายหายกัน ไม่ติดหนี้กันสักเพนนีเดียว

“ประเดี๋ยวนะ!” คราวนี้นายทุนตะโกนออกมา “ผมจ้างกรรมกรคนนี้ทั้งวันสิบสองชั่วโมง แต่หกชั่วโมงมันแค่ครึ่งวัน เพราะฉะนั้นก็ทำงานให้ขันแข็งต่อไปจนกว่าจะครบอีกหกชั่วโมง——อย่างนั้นแล้วเราถึงจะหายกัน” และคือความจริงที่กรรมกรจำต้องจำนนต่อเงื่อนไขในสัญญาซึ่งเขาจำยอมเข้าร่วมตาม “เจตจำนงเสรีของเขา” ในสัญญา เขาผูกมัดตัวเองให้ทำงานสิบสองชั่วโมงแลกกับผลผลิตของแรงงานที่มีค่าเท่าแรงงานหกชั่วโมงเท่านั้น

ค่าจ้างตามชิ้นงานก็เช่นกัน สมมุติว่าคนงานของเราทำสินค้าได้ 12 ชิ้นในสิบสองชั่วโมง แต่ละชิ้นใช้วัตถุดิบรวมค่าบำรุงรักษาราคา 2 เหรียญและขายราคา 212 เหรียญ ตามสมมุติฐานเดิม นายทุนให้กรรมกรเสี้ยวเหรียญต่อชิ้น ทั้งหมดรวม 3 เหรียญ