หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/69

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
บทนำ

ถึงปลายปี 1847 มีงานประชุมการค้าเสรีจัดขึ้นที่บรัสเซลส์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการรณรงค์การค้าเสรีที่ดำเนินโดยนักอุตสาหกรรมอังกฤษ ที่สามารถเอาชนะนัดเหย้าไปได้ด้วยการยกเลิกกฎหมายข้าวในปี 1846 บัดนี้พวกเขามาเยือนแผ่นดินใหญ่ เรียกร้องให้ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าประดิษฐกรรมของอังกฤษ แลกกับที่อังกฤษได้ยกเว้นอากรข้าวจากแผ่นดินใหญ่ไป ณ ที่ประชุมแห่งนี้ มาคส์ลงชื่อเป็นวิทยากรไว้ แต่ไม่ผิดจากที่คาด ตารางจัดไว้ให้กว่าจะถึงตาเขางานประชุมก็จบลงแล้ว มาคส์จึงต้องนำเนื้อหาที่เตรียมไว้พูดเกี่ยวกับการค้าเสรีมาปราศรัยต่อหน้าสมาคมประชาธิปไตยบรัสเซลส์แทน ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติที่เขาเป็นรองประธานอยู่

คำถามระหว่างการค้าเสรีกับการคุ้มกัน ปัจจุบันเป็นวาระสำคัญที่อเมริกา มีคนคิดว่าคำปราศรัยของมาคส์จะเป็นประโยชน์หากแปลเป็นอังกฤษ และมีคนขอให้ผมเขียนคำนำให้มา ณ โอกาสนี้

“ระบบการคุ้มกัน” มาคส์กล่าว[1] “เป็นปัจจัยประดิษฐ์ของการผลิตผู้ผลิต ของการริบทรัพย์กรรมกรอิสระ ของการแปลงปัจจัยการผลิตและการยังชีพของชาติเป็นทุน และของการ

  1. คาร์ล มาคส์, ทุน. ลอนดอน: Swan Sonnenschein Co., 1886; หน้า 782.