หน้า:Karl Marx - Wage Labor and Capital - tr. Harriet E. Lothrop (1902).djvu/81

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
15
บทนำ

สหภาพศุลกากรเยอรมันหรือซ็อลแฟร์ไอน์ ซึ่งทำได้บนฐานของพิกัดอัตราแบบเสรีนิยมเท่านั้น คำนวณเพื่อเพิ่มรายได้ส่วนกลางมากกว่าเพื่อคุัมกันอุตสาหกรรมในประเทศ ไม่มีเงื่อนไขอื่นเลยที่สามารถเกลี้ยกล่อมรัฐขนาดเล็กให้เข้าร่วมได้ แม้จะให้การคุ้มครองบางอุตสาหกรรมบ้าง แต่ในช่วงเริ่มต้น พิกัดอัตราศุลกากรเยอรมันใหม่เป็นตัวแบบกฎหมายการค้าเสรี และยังเป็นอยู่ ทว่านับแต่ปี 1830 นักอุตสาหกรรมเยอรมันส่วนใหญ่เรียกร้องการคุ้มครองอยู่เนือง ๆ ถึงกระนั้น แม้ภายใต้พิกัดอัตราเสรีนิยมสุดขีด แม้อุตสาหกรรมใช้แรงงานมือในประเทศเยอรมนีถูกการแข่งขันจากอุตสาหกรรมพลังไอน้ำอังกฤษบดขยี้อย่างไร้ปรานี เยอรมนีก็ทยอยเปลี่ยนผ่านจากแรงงานมือไปยังเครื่องจักรกลทีละเล็กทีละน้อย และบัดนี้เกือบสมบูรณ์แบบแล้ว เยอรมนีเปลี่ยนผ่านจากประเทศเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรมในอัตราเดียวกัน เอื้อโดยเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ปี 1866: การสถาปนารัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง และสภานิติบัญญัติสหพันธ์ เพื่อรับรองเอกภาพของกฎหมายควบคุมการค้า เอกภาพของเงินตรา หน่วยชั่ง และหน่วยวัด และสุดท้าย การอัดฉีดหลายพันล้านจากฝรั่งเศส ถึงประมาณปี 1874 การค้าเยอรมนีในตลาดโลกจึงมีอันดับติดกับบริเตนใหญ่[1] และมีการใช้งานพลังไอน้ำในอุตสาหกรรมและการขนส่งเยอรมันมากกว่าในประเทศยุโรปแผ่นดินใหญ่ทุกแห่ง เป็นบทพิสูจน์ว่าวันนี้ ไม่ว่าอุตสาหกรรมอังกฤษได้เริ่มก่อนล่วงหน้าเท่าใด ประเทศขนาดใหญ่สามารถไต่เต้าเป็นคู่แข่งของอังกฤษที่ประสบผลสำเร็จได้ในตลาดเปิด

ทันใดนั้น แนวหน้าก็เปลี่ยน: 

  1. ปริมาณการค้ารวม รวมการส่งออกและการนำเข้า ปี 1874 หน่วยล้านเหรียญ : บริเตนใหญ่ —— 3300 ; เยอรมนี —— 2325 ; ฝรั่งเศส —— 1665 ; สหรัฐ —— 1245 ล้านเหรียญ. (Kolb, Statistik, พิมพ์ครั้งที่ 7. ไลพ์ซิช : 1875 ; หน้า 790.)