หน้า:Kwaidan; Stories and Studies of Strange Things - Hearn - 1904.djvu/81

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ตำนานระฆังสืบมา และในตำนานนั้น ระฆังเป็นที่เรียกขานกันว่า มูเง็นกาเนะ หรือ ระฆังมูเง็น

 

ทีนี้ มีความเชื่อโบราณอันพิลึกพิลั่นของญี่ปุ่นว่า การทำงานบางอย่างของจิต ซึ่งอนุมานได้จากคำกริยาว่า นาโซราเอรุ[1] นั้น มีความขลังทางไสยศาสตร์อยู่ แม้จะไม่มีการอธิบายขยายความไว้ก็ตาม คำดังกล่าวนี้เองไม่อาจถ่ายทอดอย่างพอเพียงด้วยคำใด ๆ ในภาษาอังกฤษ เพราะมีการนำคำนี้ไปใช้งานในไสยศาสตร์แบบสนองตอบหลายแขนง รวมถึงในการกระทำศาสนกิจอันสำเร็จด้วยศรัทธาอีกหลายประการ ตามพจนานุกรมแล้ว ความหมายทั่วไปของ นาโซราเอรุ คือ "เลียนแบบ" "เปรียบ" หรือ "เทียบ" แต่ความหมายที่รู้กันเฉพาะวงใน คือ แทนที่วัตถุหรือการกระทำอย่างหนึ่งด้วยอีกอย่างหนึ่งในจินตภาพ เพื่อกระทำให้เกิดผลลัพธ์ทางไสยศาสตร์หรือทางปาฏิหาริย์

ตัวอย่างเช่น ท่านไม่มีเงินพอจะใช้สร้างวัดในพุทธศาสนา แต่ท่านสามารถนำก้อนกรวดมาวางไว้หน้าพระพุทธรูปได้อย่างไม่ลำบาก พร้อมความรู้สึกเปี่ยมศรัทธาอย่างเดียวกับที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสร้างวัดขึ้นเมื่อท่านร่ำรวยพอจะสร้างได้สักแห่ง ผลบุญของการถวายก้อนกรวดเช่นนั้นจะเท่า หรือแทบจะเท่า กับผลบุญในการสถาปนาวัดขึ้นทีเดียว . . . ท่านไม่สามารถอ่านคัมภีร์พุทธ 6,771 

57
 
  1. ดู 準える (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)