หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๙
กันโชก
กันโชก | ผู้ใดไม่มีอำนาจที่จะได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ได้บังอาจบังคับผู้อื่นด้วยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจให้เขาสัญญาว่าจะส่งทรัพย์ให้ก็ดี หรือให้เขาทำ หรือถอน หรือทำลายหนังสือสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี (ป.ก.อ. มาตรา ๓๐๓) | |
กันโชกมีเกณฑ์ดังนี้ คือ— | ||
(๑)บังคับเขาโดยใช้กำลังข่มขืนหรือขู่เข็ญขืนใจเขา | ||
(๒)ให้เขาทำสัญญาว่าจะส่งทรัพย์ให้ หรือให้เขาทำ หรือถอน หรือทำลายหนังสือสำคัญ | ||
(๓)โดยตนไม่มีอำนาจที่จะบังคับเขาเช่นนั้น | ||
(๔)กระทำโดยเจตนาทุจริต | ||
อุทาหรณ์เช่น ทนายความนำยึดทรัพย์ของตัวความอีกฝ่ายหนึ่งที่แพ้คดี ในการยึดทรัพย์นั้น ทนายความพบธนบัตร์ ๑ ฉะบับ จึงพูดว่า ผู้ถูกยึดจะต้องติดตรางในเรื่องมีธนบัตร์ปลอมและยักยอกทรัพย์ที่จะยึด เพื่อประสงค์จะให้เขาให้เงินแก่ตน ผู้ถูกยึดมีความกลัว จึงยอมทำสัญญายกทรัพย์ให้ทนายความผู้นั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๖/๒๔๖๘) | ||
กานไม้ | ตัดต้นไม้ไว้แต่พอควรเพื่อจะได้ตัดขาดจากต้นในภายหน้า (ดู พ.ร.บ. รักษาต้นไม้สัก ร.ศ. ๑๑๖) |