หน้า:Photchananukrom Kotmai 2474.djvu/394

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๘๙
หมู่บ้าน
(ก)เมื่อศาลพิจารณาเห็นว่าที่กล่าวนั้นมีเจตนาที่จะให้เป็นสาธารณะประโยชน์ ประการหนึ่ง
(ข)ข้อความที่กล่าวนั้นกล่าวโทษเจ้าพนักงานว่ากระทำความผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการ ประการหนึ่ง
(ค)เมื่อโจทก์ร้องขอให้ศาลพิจารณาข้อที่ใส่ความ และขอให้ศาลพิพากษาว่าความที่ใส่นั้นเป็นจริงหรือไม่ ประการหนึ่ง
(ป.ก.อ. มาตรา ๒๘๔)
(๒)หมิ่นประมาทโดยดูถูก คือว่า ผู้ใดกล่าวถ้อยคำต่ำช้าว่าเขา เป็นการหมิ่นประมาทซึ่งหน้า
(ป.ก.อ. มาตรา ๓๓๙ (๒))
ในทางแพ่งนั้น ผู้หมิ่นประมาทจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกหมิ่นประมาท เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การหมิ่นประมาทนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
(ป.ก.พ. มาตรา ๔๒๓)
หมู่บ้าน ท้องที่ ๆ รวมบ้านหลาย ๆ บ้านเข้าอยู่ในปกครองของผู้ใหญ่บ้านหนึ่ง
หลบฝาก ชายผู้สู่ขอหญิงมาอยู่เรือนบิดามารดาหญิง และทำการให้โดยมีกำหนดเวลา แล้วชายจึงระได้หญิงเป็นภรรยา (กฎห์ ลักษณะผัวเมีย บทที่ ๑๐๒)