หน้า:Phra Ratcha Lanchakon 2493.djvu/16

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ของพระองค์ซึ่งอยู่กลางหน้าผากมาใช้เป็นเครื่องหมาย 'พระครุฑพาห' ตามความเชื่อควรมีแต่รูปครุฑเปล่า ที่ทำมีรูปนารายณ์ด้วยนั้น เห็นจะทำชั้นหลังที่คลายความนับถือเสียแล้ว 'หงสพิมาน' คงหมายพระพรหม ใช้รูปหงส์พาหนะ และ 'ไอราพต' ที่มีรูปพระอินทร์ด้วย ก็อย่างเดียวกับพระครุฑพาห์"[1]

พระราชลัญจกรองค์นี้เป็นของสำหรับพระเจ้าแผ่นดินแต่โบราณมาองค์หนึ่ง เป็นตราประจำชาดสำหรับประทับพระราชสาส์นและกำกับพระสุพรรณบัฏดำเนินพระราชโองการตั้งเจ้าประเทศราช (ดู พระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ [พ.ศ. ๒๔๔๖]) ลายในดวงตราเป็นรูปบุษบกมีเกริน บนเกรินตั้งฉัตรขนาบบุษบกอยู่สองข้าง ในบุษบกมีรูปอุณาโลมอยู่เบื้องบน ใต้นั้นมีรูปวงกลม ใต้วงกลมเป็นรูปพาลจันทร์ ใต้พาลจันทร์เป็นตัว "อุ" หนังสือขอม เข้าใจว่า เป็นหนังสือรวมกัน อ่านว่า โอม ได้แก่ โอมการ หรือเปลี่ยนนิคคหิตตามพยัญชนะตัวหลังเป็น โองการ รูปเป็นดังนี้ โองการ ตราดวงนี้เลิกใช้มานาน เพราะใช้ตราพระบรมราชโองการซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔ แทน ในรัชกาลที่ ๕ โปรด


  1. ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙ กราบบังคมทูลเรื่องพระราชลัญจกร (ต่อไปจะย่อว่า "ลายพระหัตถ์")