หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/111

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
สร้างพระวิหารร่มพระแท่นศิลาอาศน์
จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๗
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ[1]

ด้วยออกพระศรีราชไชยมหัยสูรินทบูรินท–
พิริยะพาหะพระท้ายน้ำ ยกเชื้อฝ่ายปู่พระเจ้าเชียง–
ตุง ฝ่ายย่าเปนบุตรเจ้าฝาไลค่า ได้กินเมืองละคอน
ฝ่ายตาเปนบุตรพญาแมน ได้กินเมืองเชียงใหม่ แล
ครั้งสมเดจพระณะรายเปนเจ้ามารบเมืองเชียงใหม่
ไม่ได้พระพุทธสิหิงค์ แล้วกวาดต้อนเอาแมนลาว
ทั้งนี้ลงมาเปนข้าพระเจ้ากรุงศรีอยุทยา แลทรง
พระมหากรุณาเปนที่สุดที่ยิ่ง ปลูกเรียงแตปูแล้ว
มาบิดาแล้วมาน้องให้เปนพญายมราชต่อ ๆ กัน
มา ได้เปนน้าเปนที่พึ่งแก่แมนลาวทั้งปวง แล้ว
อยู่ณะปีขาน อัฏศก มีโกหกชื่อ อายนักโสม ตั้งตัว
เปนใหญ่ในเมืองลานช้าง แล้วลาวลานช้างอยู่ใน
อำนาจมันสิ้น แลให้ลาวลานช้างแขงบ้างเมือง
แล้วจะเข้ามาณะกรุงศรีอยุธยา แล้วยกทัพเข้ามา
เถิงตำบลณะเข้าพังเหย แขวงเมืองนพบุรี ท่าน
ออกพระท้ายน้ำ เมื่อยังเปนหลวงทรงพลอยู่นั้น จึง
อาสาออกไปจับ ได้สัปยุทธกับอ้ายนักโสม ๆ ฟัน
ทุกคอ ก็หนีเข้า จึงจับเอาตัวนักโสมใส่กรงเหล็กเข้า
มาถวาย พระราชทานบำเหน็จรังวัลเปนอันมาก
แล้วทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นมาเปน
พญาสวรรคโลก จึงขึ้นมาตรวจการ เหนพระวิหาร
ร่มพระแท่นศิลาอาศน์ชำรุด จึงบอกเข้าไปขอพระ–
ราชทานทำฉลองพระเดชพระคุณ จึงมีพระราช
โองการมาณะพระบันทูลสูรสิงหนาฏตำรัสเหนือ–
เกล้าฯ ให้มีตราพระราชสีห์ขึ้นมาให้ทำ และให้
เมืองลับแล เมืองทุงยัง ช่วย แลได้รื้อพระวิหาร
แลกำแพงแต่ณะวัน ๑๓ ฯ  ค่ำ ปีจอ ฉอศก แล
ได้รื้อขุดก่อรากพระวิหารณะวัน ๑๐ จุลศักราช
๑๑๑๖ ปีจอ ฉอศก วันก่อผนังสำเรจแต่ณะวัน ๑๑
ค่ำ ปีกุญ สัพศก พุทธศักราชล่วงไปแล้วได้ ๒๒
ได้ยกเครื่องบนแลได้มาทำการนั้น แลชื่น เปน
ภรรยา ได้ช่วยเลี้ยงพระสงฆ์สามเณรแลคนเข้า
ทำการวัดด้วย แลนายบาง เสมียร เปนนายการ แลได้
ฉลองณะวัน ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๐ ปีขาร สำฤทธิ
ศก แลเดชพระบารมีปกหม แลคนทำการนั้นสดวก
หาผู้ใดเปนอันตรายหมีได้ แลเดชะได้มาทำพระ
เจดีย์ถาน ขอให้สำเรจแก่พระโพธิญานจงฉับพลัน
แลผู้ใดจะเข้ามานมัสการ จงอนุโมทนา กุศลที่เข้า
ได้สร้างหนีจงทูก ๆ คนเถิด จึงให้นายทองรัต เสมียน
ชานนคร ผู้เปนขุนษาระพากร จารึกไว้ณะวัน ค่ำ
จุลศักราช ๑๑๒๐ ปีขาน สำฤทธิศก"
หมายเหตุ — คำว่า "พุทธศักราชล่วงไปแล้ว
ได้ ๒๒" หมายความว่า พุทธศักราชล่วงไป

๒๒๙๘ ปี กับเศษ ๑๑ เดือน ๓ วัน

  1. สำเนาจารึกพระแท่นศิลาอาศน์ พบในหมายรับสั่ง ร. ๓ จ.ศ. ๑๒๐๕ เล่มที่ ๑๙