หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
อนุญาตให้พ่อค้าเดนมาร์คเข้ามาค้าขายยังประเทศไทย
วัน ๒ ๙ฯ ๑ ระกา ตรีศก จ.ศ. ๙๘๓
- หนังสือออกพระจอมเมืองศรีราชโกษา ออกหลวงจีนดาราชยุะกบัตร[1]
- มาเถิงเรฎ่ดีล่มาส[2] ดว้ยกาปีดตนักราเปรา[3] ดีลมาศ นำเอาส่เพา
- ลำนืงเข้ามาซือขายยังท่าเมืองตร่เน่าวศรีม่หาณ่คร แลพ่ณ่
- หัวเจ้าท่าน ออกญาไชยาทีบดีศริร่นรงค่ฤไชยอ่ภยพิริยบ่รากรํมภา
- หุะ ท่านออกญาตรเนาวศรีมหาณ่คร ก่ให้เลี้ยงดูกาปีดตนัก่รา
- เปราดีล่มาศ แลฝารงัผู้มาทงัปวง แลให้กาปีดตนักราเปราดีลมาศ
- ซือขายเปนสุดวก[4] ซืงจงักอบ[5] แลริดชา[6] บันดาไดแก่พ่ณ่หัวเจ้า
- ท่าน แลริดชาบันดาไดแก่พระหลวงหัวเมืองแลกรํมการยตามทำเนียม
- นนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้ยกไว้แก่กาปิดตนักราเปราดีลมาศ แลพ่ณ่
- หัวเจ้าท่านกให้แตงเส่เบียงการอาหารกนักีนให้แก่การปิตตัน
- ก่ราเปราดีลมาศแลฝารังท่หารผู้ทังปวงเลา อ่นืง กีดจ[7] ศุกทุกก่า
- ปิดตนักราเปราดีลมาศซืงจปราถ่หน้านนั พ่ณ่หัวเจ้าท่านกให้พระหลวง
- หัวเมืองสำเมรศ[8] การซืงกาปิดตันก่ราเปราดีลมาศปราถ่หน้านนัเส่รด[9]
- ทุกปร่การ อ่นืง แผนดินเมืองตร่เน่าวศริม่หาณ่คร แลแผนดินเมืองดีล
- มาศไส้ เปนแผนดีนเดียวแลว แลฃอเรฎ่ดีลมาศให้กาปิดตนักราเปรา
- ดีลมาศแลลูกคาทงัปวงให้ไปมาซือขายอยาไดขาด(มอลสุม แลขอ)
- บอกมาให้ชราบ[10] ในวันจันทร เดือนอาย แรมเก้าคำ ร่กา ตรีนิศก[11]
- ↑ ยุะกบัตร ยุกกระบัตร ยกกระบัตร เป็นคำเดียวกัน แต่เขียนอักขรวิธีผิดกัน
- ↑ เรฎ่ดีล่มาศ คำนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงสันนิษฐานว่า โดยที่ภาษาฝรั่งซึ่งใช้ในสมัยนั้นเป็นภาโปรตุเกส มีความมุ่งหมายที่จะเขียน Rei de Dinamarca ซึ่งแปลว่า พระมหากระษัตริย์แห่งเดนมารค (ดู หนังสือประวัติการทูตของไทย) อนึ่ง คำว่า เรฎ่ดีล่มาศ นี้ บางฉบับเขียนว่า (เรฎ่)ดีลรามาศ หรือ เรธอธีลมาศ ก็มี
- ↑ กาปิดตัน "กราเปรา" หรือบางฉบับเขียนว่า กาปิดตัน "กรเบศ" นั้น ที่ถูกเป็น กัปตัน "ครัปเป" (ดู หนังสือการทูตของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ นายสมใจ อนุมานราชธน) และคำว่า "กราเปรา" นี้ บางท่านอ่านว่า กรเบ็ก ก็มี
- ↑ สุดวก = สะดวก
- ↑ จังกอบ = ภาษีผ่านด่าน หรือภาษีปากเรือ
- ↑ ริดชา = ฤๅชา คือ ค่าธรรมเนียม
- ↑ กิดจ = กิจ
- ↑ สำเมรศ = สำเร็จ
- ↑ เส่รด = เสร็จ
- ↑ ชราบ = ทราบ
- ↑ ร่กา ตรีนิศก = จ.ศ. ๙๘๓ (พ.ศ. ๒๑๖๔)