หน้า:Prachum Phongsawadan (01) 2457.djvu/13

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

หนังสือเรื่องนี้ได้พิมพ์เมื่อปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๒๖๙ พ.ศ. ๒๔๕๐ ครั้งหนึ่ง ฉบับครั้งนั้นยังบกพร่อง ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้ต้นฉบับหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรีมาอิกฉบับ ๑ สอบสวนได้ความที่ฉบับเดิมลบเลือนครบบริบูรณ์ ดังพิมพ์ไว้ในเล่มนี้

หนังสือพระราชพงษาวดารฉบับหลวงประเสริฐนี้ ทั้งเนื้อเรื่องแลศักราชผิดกับพระราชพงษาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม แลฉบับพระราชหัดถเลขาอยู่หลายแห่ง ข้าพเจ้าได้สอบสวนกับหนังสือพงษาวดารประเทศอื่น เห็นเนื้อความแลศักราชที่ลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐแม่นยำมาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ศักราชที่ลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐเปนถูกต้องตามจริง

เรื่องนี้เดิมจาฤกไว้ในหลักศิลา ๓ หลักเมื่อครั้งนครศุโขไทยเปนราชธานีของสยามประเทศ ศิลาจาฤกที่ ๑ เปนคำจาฤกของพระเจ้าขุนรามคำแหงเล่าถึงพระราชวงษ์พระร่วงแลเรื่องราวกรุงศุโขไทยครั้งพระเจ้าขุนรามคำแหงครองราชสมบัติ เปนจาฤกดีที่สุดในทางพงษาวดารของไทย ศิลาจาฤกหลักนี้เดี๋ยวนี้อยู่ที่ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จาฤกด้วยตัวอักษรไทยที่พระเจ้าขุนรามคำแหงทรงคิดแบบขึ้นเมื่อปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๖๔๕ พ.ศ. ๑๘๒๖ ตัวอักษรนี้ไม่มีผู้ใดอ่านออกอยู่หลายร้อยปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช เสด็จธุดงค์ไปถึงเมืองศุโขไทย ได้มาพร้อม