ศุโขไทยจะยังมีมากทั้งไทยแลขอม ศิลาจาฤกหลักที่ ๒ นี้ น่าเสียดายอยู่น่อย ที่มิได้มีผู้ใดคัดภาษาเขมรไว้แต่เมื่อยังมีบริบูรณ์ กรรม การหอพระสมุดพึ่งให้ไปคัดเมื่อสัก ๔ ปีมานี้ เห็นจะเปนด้วยหลักศิลาที่ตั้งไว้ในศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไม่มีที่กำบังแดดแลฝนมาแต่ก่อน อักษรลบเลือนไปเสียมาก จะเอาภาษาเขมรมาสอบกับภาษาไทยในเวลานี้อิกไม่ได้ จึงจำต้องถือเอาความตามที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงแปลไว้ว่าเปนถูกต้อง
หลักที่ ๓ เปนคำจาฤกของพระเจ้าลิไทยมหาธรรมราชาเหมือนกันเล่าเรื่องรับพระบรมธาตุแลพระมหาโพธิจากลังกา มาประดิษฐานไว้ที่เมืองนครปุ ที่อยู่หลังเมืองกำแพงเพ็ชรเดี๋ยวนี้ ศิลาจาฤกนี้แต่เดิมเห็นจะอยู่ที่เมืองนครปุ ได้ลงมาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานเมื่อในรัชกาลที่ ๕ เดี๋ยวนี้รับเอามาไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ
หนังสือพงษาวดารเขมรฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ขุนสุนทรโวหาร ในกรมพระอาลักษณ์ แลพระยาธรรมาธิบดี พระเสนาพิจิตร หมื่นมหาสมุท ๓ นายเปนล่ามเขมร แปลออกเปนภาษาไทย เมื่อปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ แลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พิมพ์เปนครั้งแรก เมื่อปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ พ.ศ. ๒๔๑๒ หนังสือพงษาวดารฉบับนี้ ต้นฉบับเดิมคงจะได้