มาจากกรุงกัมพูชา จะได้มาในรัชกาลที่๔ หรือก่อนนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบมีหนังสือพงษาวดารเขมรอิกฉบับ ๑ เรียกว่าพงษาวดารเมืองลแวก ความซ้ำกัน แลเนื้อเรื่องมีน้อย ต้นฉบับภาษาไทยที่หอพระสมุดได้มาเขียนแต่ในรัชกาลที่ ๑ เชื่อว่าในรัชกาลที่ ๑ ยังไม่ได้พงษาวดารเขมรฉบับที่พิมพ์นี้ ข้าพเจ้าได้สืบสวนถึงกรุงกัมพูชาหมายว่าจะหาพงษาวดารเขมรมาสอบ ได้ความว่าพงษาวดารเขมรที่มีอยู่ในกรุงกัมพูชาก็เท่าที่พิมพ์นี้เอง
หนังสือพงษาวดารพม่ารามัญที่พิมพ์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ขุนสุนทรโวหาร กรมพระอาลักษณ์ กับขุนอักษรรามัญ นายขำเปรียญ นายสุดเปรียญ นายจุ รวม ๔ นายเปนล่ามแปลออกเปนภาษาไทย เมื่อปีมเสงนพศกจุลศักราช๑๒๑๙ พ.ศ.๒๔๐๐ ต้นฉบับเดิมที่ได้มาเห็นจะเปนภาษารามัญ แลผู้แต่งเปนรามัญ เพราะพงษาวดารพม่าที่พม่าแต่งของเขามีอิกเรื่อง ๑ เรียกว่าเรื่องมหาราชวงษ์ซึ่งหอพระสมุดกำลังแปลอยู่ เปนหนังสือยืดยาวหลายเล่มสมุดไทย
หนังสือพงษาวดารล้านช้างมี ๒ ฉบับ พะบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เรียบเรียงไว้ฉบับ ๑ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ไปได้ต้นฉบับตามภาษาเดิม ส่งมาพิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณอิกฉบับ ๑ สอบกันดูเห็นฉบับของพระยาประชากิจกรจักรแม่นยำ แลมีเรื่องราวชัดเจนดี จึงเอาฉบับของพระยาประชากิจกร