หน้า:Prachum Phongsawadan (01) 2457.djvu/9

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เอาพระไทยใส่เสาะแสวงหาหนังสือพงษาวดารรวบรวมไว้ในหอหลวงหลายเรื่อง ที่ได้พบฉบับแล้ว คือ เรื่องราวครั้งกรุงศุโขไทยเปนราชธานี ที่อ่านแลแปลจากศิลาจาฤก ซึ่งเสด็จไปพบแต่ครั้งยังทรงผนวชแลโปรดให้เอามาไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ก็ควรนับเปนเรื่อง ๑ หนังสือพงษาวดารกรุงเก่าแปลจากภาษารามัญ ที่เรียกกันว่าคำให้การขุนหลวงหาวัดเรื่อง ๑ หนังสือพงษาวดารเขมร มีรับสั่งให้แปลออกเปนภาษาไทย เมื่อปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ เรื่อง ๑ พงษาวดารพม่ารามัญโปรดให้แปลออกเปนภาษาไทยเมื่อปีมเสงนพศก จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐ ยังตำนานต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ก็หลายเรื่อง มาถึงในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) แต่งหนังสือพระราชพงษาวดารกรุงรัตนโกสินทรต่อเรื่องที่กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสได้ทรงไว้ ในรัชกาลที่ ๑ ลงมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ๑ ในส่วนพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เองก็มีหลายเรื่อง คือหนังสือพระราชวิจารณ์เปนต้น นอกจากที่ทรงพระราชนิพนธ์ ยังโปรดให้พิมพ์หนังสือพงษาดารต่าง ๆ ซึ่งยังมิได้เคยพิมพ์มาแต่ก่อน ให้ปรากฎแพร่หลายขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เปนอันมาก แลที่สุดเมื่อปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๒๖๙ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโบราณคดีสโมสร แลเมื่อปีมเสงสัปตศก