มีพระบรมราชโองการให้ประกาษแก่ราษฎรในกรุงนอกกรุงให้ทราบทั่วกันว่า แต่ก่อนในหลวงห้ามปิดเข้าไว้ไม่ให้เอาออกไปขายนอกประเทษ ยอมให้เอาไปแต่ภอเปนเสบียงคนทั้งปวงที่มิไช่ชาวนา แลพ่อค้าเรือต่างประเทศก็มีความสบายด้วยเข้าถูกเกวียนละตำลึงบ้าง ห้าบาทบ้าง ตำลึงกึ่งบ้าง แต่ชาวนาไม่ชอบใจ เพราะขายเข้าได้น้อยไม่ภอกิน ต้องทิ้งนาให้เปนป่ารกแลเวรนาเสียหลายหมื่นไร่ไปหากินอย่างอื่น ถึงพ่อค้าก็ไม่ชอบใจด้วยอยากจะขายเข้าออกไปนอกประเทศต้องลักลอบเอาไป ครั้นเจ้าพนักงานจับได้ ก็ต้องปรับ จึงเปนทุกข์ รวังตัว คนที่ซื้อเข้าเกบไว้มากกินหมดไปช้าเข้าก็ผก็เหมนเสียไปใช้ไม่ได้ จึงภากันซื้อไว้แต่น้อย ครั้นมีฝนแล้งเข้าสัก ๙ วัน ๑๐ วัน ก็ตื่นกันซื้อเข้า ว่าจะเกบไว้กินเมื่อเข้าแพง ชาวนาก็ได้ที กดราคาเข้าให้ขึ้นไปเกวียนหนึ่งสิบตำลึงสิบสองตำลึงเรวทีเดียว บัดนี้ผู้ใหญ่ในกรงพร้อมใจกันยอมเปิดให้ลูกค้าต่างประเทศซื้อเข้าไปนอกประเทศได้ ราษฎรเปนอันมากก็ตื่นกันค้าขายมาก ชาวนาก็ทำมาก ไม่มีว่างทุกแห่งทุกตำบล แต่คนที่มิไช่ชาวนา มิไช่พ่อค้า เหนจะไม่ชอบใจบ้าง ด้วยราคาเข้าไม่ตกลงจนตำลึงหนึ่งห้าบาทตำลึงกึ่งดังแต่ก่อน ต้องเสียเงินซื้อเข้ากินมากไปกว่าแต่ก่อน บัดนี้จึงทรงพระมหากรุณาตักเตือนสติพวกนั้นมาว่า จงอย่าเสียใจแลติเตียนว่าเพราะเปิดเข้าออกไป ราคาเข้า
หน้า:Ratchakitcha Ratchakan Thi Si 2433.djvu/23
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒