ด้วยในการพระราชทานเพลิงศพนายทหารนายตำรวจผู้กล้าหาญซึ่งได้ประสพภัยวายชีพไปในการปราบกบฏครั้งนี้ มีจำนวนรวม ๑๗ ศพด้วยกัน คือ
- นายพันโท หลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล)
- นายร้อยเอก ขุนศุกรนาคเสนีย์ (เจือ ศุกรนาค)
- นายร้อยตำรวจเอก ขุนประดิษฐสกลการ (ไปล่ จันทประดิษฐ)
- นายร้อยโท น่วม ทองจรรยา
- นายร้อยตำรวจตรี ทอง แก่นอบเชย
- นายดาบ ละมัย แก้วนิมิตร์
- นายดาบ สมบุญ บัวชม
- จ่านายสิบ หล่อ วงศ์พราม
- จ่านายสิบ แฉล้ม ศักดิ์ศิริ
- นายสิบเอก ขั้ว เชือกพุ่งใหญ่
- นายสิบเอก เช้า ศุขสวย
- นายสิบเอก บุญช่วย สุมาลย์มาศ
- นายสิบเอก พัน ยังสว่าง
- นายสิบเอก จัน ศุขเนตร์
- นายสิบเอก ดา ทูคำมี
- นายสิบเอก หลิม เงินเจริญ
- นายสิบเอก ทองอิน เผือกผาศุก
ซึ่งล้วนแต่เปนผู้ที่มีเลือดเนื้อ รักประเทศชาติและรัฐธรรมนูญยิ่งกว่าชีวิต และมีความองอาจกล้าหาญทรหดอดทน โดยเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเปนที่ตั้ง มิได้คิดเปนห่วงหลังอาลัยถึงชีวิตของตนและของครอบครัวแม้แต่น้อย ซึ่งประชาชนทั่วทั้งประเทศสยามจะลืมคุณงามความดีของท่านผู้มีนามปรากฎดังข้างต้นนี้เสียมิได้เลยตราบชั่วกัลปาวสาน
โรงพิมพ์ศรีกรุงสมัครมีส่วนช่วยเหลือร่วมงานในการพระราชทานเพลิงศพท่านผู้กล้าหาญครั้งนี้ด้วย จึงได้รวบรวมคำแถลงการณ์และประกาศต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศแก่ข้าราชการฝ่ายทหาร, พลเรือน และราษฎรทั่วไป ในการที่ได้เกิดมีกบฏขึ้นในพระราชอาณาจักร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เปนต้นไป หรือเริ่มแต่ประกาศใช้กฎอัยการศึก จนถึงประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก พร้อมด้วยภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ และภาพผู้กล้าหาญทำการปราบกบฏครั้งนี้ พิมพ์ขึ้นเปนของชำร่วย หนังสือเล่มนี้รวมขึ้นจากเล่มย่อย ๖ เล่มซึ่งรัฐบาลได้เคยพิมพ์แจกจ่ายเปนคราว ๆ มาแล้ว
คำแถลงการณ์และประกาศของรัฐบาลเล่มนี้ นับว่าเปนประวัติการณ์อันมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ