หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/39

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
โรงเรียน

ครูบาอาจารย์มักได้แก่นักบวช แต่อาจพบเจอครูใหญ่ที่เป็นฆราวาสได้ประปราย ในกรณีเช่นนั้น ครูใหญ่ก็เหมือนตัวเด็กเองที่มักไม่สวมเสื้อผ้านักหนา เพียงพันผ้าผืนหนึ่งรอบ ๆ แข้ง[1] แต่ร่างกายท่อนบนนั้นมักเปลือยเปล่า ถ้าครูใหญ่มีเสื้อนอกทำด้วยผ้าทอสีขาวราวกับที่ชาวยุโรปใช้ในเมืองร้อน[2] เมื่อเข้าที่เรียนแล้ว ครูใหญ่ก็มักถอดเสื้อนั้นออกแขวนไว้ เพื่อที่เสื้อจะได้ไม่เปื้อนเปรอะตอนตนสอน ปรกติครูใหญ่จะสูบยาอยู่ไม่วาย และยามใดไม่สูบยา ก็จะเคี้ยวหมาก

เด็ก ๆ จะนั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้นดุจช่างตัดเย็บ[3] โต๊ะเก้าอี้หามีไม่ และถ้ามี เด็ก ๆ ก็จะนั่งขัดสมาธิอยู่บนนั้นดังเดิม ทุกคนต้องเรียนอ่าน ทีนี้ ภาษาสยามเป็นประเภทที่เรียกว่า ภาษา มีวรรณยุกต์ กล่าวคือ ความหมายของแต่ละคำนั้นขึ้นอยู่กับเสียงสูงต่ำที่เปล่ง ตัวอย่างเช่น คำว่า "ma" ออกเสียงได้ถึงสามแบบ และดังนั้นจึงมีถึงสามความหมาย คือ "มา" "ม้า" และ "หมา" เหตุฉะนั้น ถ้าท่านเรียกเพื่อนว่า "มานี่" โดยผิดวรรณยุกต์ อาจกลายเป็นท่านด่าเขาด้วยการกล่าวว่า "หมานี่" ฯลฯ ท่านอาจอยากบอกชาวนาว่า "ขอข้าม นา แกได้ไหม" หากท่านออกเสียงคำนั้นผิดวรรณยุกต์ไป อาจกลายเป็น "ขอข้าม หน้า แกได้ไหม" เป็นคำขอที่อาจพาให้เกิดเรื่องวุ่น โดยเฉพาะถ้าชาวนาผู้นั้นตัวใหญ่ยักษ์ บางพยางค์ยังมีวรรณยุกต์มากถึงห้าเสียง ชาวต่างชาติจึงเห็นว่า การแสดงความหมายของตนให้ถูกต้องนั้นช่างยากเย็นแสนเข็ญ เนื่องจากคำคำหนึ่งจะมีความหมายถูกต้องต้องอาศัย

3–2
19
  1. อาจหมายถึง นุ่งโจงกระเบนหรือผ้าเตี่ยวเหมือนบรรดาชายใน รูปที่ 1
  2. อาจหมายถึง เสื้อสีขาวเหมือนที่ชายคนหนึ่งสวมอยู่ใน รูปที่ 1
  3. ช่างเสื้อฝรั่งสมัยก่อนมักนั่งขัดสมาธิทำงาน ดังใน รูปที่ 2 จนเกิดคำเรียกว่า "การนั่งแบบช่างเสื้อ" (tailor sitting)