หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/41

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
โรงเรียน

ภาพ กระดานดำ หรือโต๊ะตั่ง ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าไปโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นเด็กแต่ละคนนั่งนิ่งอยู่บนพื้นพร้อมกล่องเล็ก ๆ อยู่เบื้องหน้าสำหรับวางกระดานชนวนหรือหนังสือของตนไว้บนนั้น เห็นแล้วก็สงสัย กล่องเหล่านี้มีสัก 40 ใบ ทุกใบหาได้จากตลาดในท้องถิ่น แถมมีโฆษณาต่าง ๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของสบู่แพร์[1] หรือโกโก้แคดเบอรี[2] ติดอยู่ด้านข้าง

โรงเรียนเริ่มตอน 9 โมง เหล่าเด็กชายจะมาช่วง 10 ถึง 11 โมง ส่วนครูใหญ่จะปรากฏตัวเมื่อตนเสร็จมื้อเช้าแล้ว ในตารางเวลาที่ไม่เคยเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ เรื่องเดียวที่ยึดถือกันอย่างตรงเผง ก็คือ เวลาเลิกเรียน

ในพระนคร โรงเรียนที่จัดตั้งและสั่งสอนกันอย่างดียิ่งนั้นบัดนี้มีอยู่จำนวนหนึ่ง และแม้แต่ในหมู่บ้านบางแห่ง ก็กำลังปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ขึ้นอย่างช้า ๆ

ที่ใดมีการจ้างครูอังกฤษ ก็มีการลงแรงฝึกสอนการละเล่นอย่างอังกฤษบ้าง เด็กผู้ชายซึมซัมเรื่องเหล่านี้ไวนัก การละเล่นยอดนิยมคือคริกเก็ต และใช้เวลาไม่นานเด็กชายบางคนก็เก่งกาจทัดเทียมครูบาอาจารย์ของตน ข้าพเจ้าไม่มีทางลืมคริกเก็ตนัดแรกที่คณะเด็กชายชาวสยามเล่นกับเด็กฮินดูกลุ่มหนึ่งซึ่งได้หยิบจับการนี้ขึ้นเล่นมาแล้วในอินเดีย แต่ละฝ่ายได้ผู้ชมจากชาติตนมาแน่นขนัด ฝูงชนฮินดูผิวดำรวมตัวกันอยู่ใต้แมกไม้กลุ่มหนึ่ง สวมผ้าโพกหัวสะอาดตาและเสื้อคลุมยาวสง่าดังแกล้งวาด มีนัยน์ตาลุกวาว ใบหน้าร้อนผ่าว ด้วยความลุ้นระทึก ชาวสยามผู้มีผิวพรรณอ่อนกว่าและแต่งองค์ทรงเครื่องน้อยกว่าออกันอยู่เคียงใกล้ แม้จะไม่เริงเร้าเท่า แต่ก็เริงรื่นและดูแล้วชื่นตายิ่งกว่า ทุกแห่งหนมีคนขาย

21
  1. อาจหมายถึง สบู่ยี่ห้อ "แพส์" (Pears) ของบริเตน ซึ่งผลิตมาตั้งแต่ ค.ศ. 1807
  2. อาจหมายถึง โกโก้ยี่ห้อ "แคดเบอรี" (Cadbury) ของบริเตน ซึ่งผลิตมาตั้งแต่ ค.ศ. 1824