หน้า:Siamese Dict (Bradley, 1873).pdf/830

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ฤทสี่ดวงพลวก,
ฦๅออกอึง,
๘๒๘

ฮ่อเลือด, คือ โลหิตขังอยู่ไนผิวหนัง, เหมือนคนถูกเจ็บ เปนต้นว่า เขาทุบตี, เลือดคั่งอยู่ที่รอยไม่ออกมาได้.
ฮ้อ, มีคำพูจอย่างหนึ่งว่า อ๋อ ฮ้อ สมนั้มหน้า, อ๋อ ฮ้อ สากะใจ, ใจความว่า เขาพูจด้วยโกรธน่อย ๆ เพราะว่าห้ามผู้นั้นไม่เชื่อฟัง.
ฮุํ่, คือ คนเอาผ้าฤๅกะดาด, ทาบเข้าข้าง แล้วปะปิดเข้าไว้, อย่างหนึ่ง ของเกิดเพราะพระยะโฮวาสาบสรรพ์สร้าง เหมือนกาบกล้วยที่มันหุ้มต้น เปนต้นนั้น.
ฮ่รรม, คือ เอาสาตรา มีมีดเปนต้น ฟันลงหลายหน เหมือนกับสับซอยนั้น.
ฮ่รรมกันลง, คือ สับฟันกันลงหลายที, เหมือนสับซอย คือ คนต่อคนฟันกัน.
ฮ่รรมหั่น, คือ สับฟันแล้วหั่นลง, เหมือนคนฟันลงหลายทีซ้ำ ๆ นั้น.
ฤกษ์, คือ ฤกษ์มียี่สิบเจ็ด มีฤกษ์ชื่ออะสะวะนีเปนต้น, ฤกษ์ชื่อสัตตะพิศเปนที่สุดนั้น.
ฤทธานุภาพ, คือ ฤทธิ์เช่นว่า แลอานุภาพ คือ สง่าแผ่ออกจากตัว, คนกลัวเกรงนั้น.
ฤทธิ์, คือ วิธีที่สำแดงการปลาดอรรษจรริย์ต่าง ๆ มีเหาะไปในอากาศนั้น.
ฤทธิ์เดช, คือ วิธีที่ทำได้ซึ่งการปลาดอรรษจรริย์ต่าง ๆ มีทำของน้อยให้มาก แลน้ำจืดให้เปนเหล้มเข้มนั้น.
ฤทสี่ดวง, เปนคำเรียกชื่อโรคอย่างหนึ่ง, เขาเรียกว่าโรคฤทสี่ดวงนั้น.
ฤทสี่ดวงงอก, คือ โรคฤทสี่ดวงเกิดขึ้นในรูทวาร, มันเปนหัวเล็ก ๆ ที่ทวารหนัก แลมันให้แสบคันนั้น.
ฤทสี่ดวงจมูก, คือ โรคที่มันเกิดในรูจมูก, แลมันเปื่อยออกไปจนเปนบุพโพโลหิตไหลออกนั้น.
ฤทสี่ดวงพลวก, คือ โรคที่มันมักให้ลงท้องแล้วอยุดไปบ้าง, อาจมเหม็นคาวนัก มักให้อยากกินของคาว ๆ
ฤทสี่ดวงแห้ง, คือ โรคที่มันให้ไอแลกินอาหารได้น้อย, ปากเสี้ยมซูบผอมไปจนตายนั้น.
ฤๅ, หนะ, เปนคำถามวาจะไปฦๅ, จะกินฤๅ เปนต้น. ฤๅนี่เปนปลายคำพูจถามด้วยสงไสยนั้น
ฤๅดี, แปลว่า ยินดี, เช่น ชื่อพระที่นั่งชื่อว่า ราชฤๅดี, ว่า เปนที่ยินดีของพระยา
ฤๅษรี, ดาวบศ, คือ คนถือบวชพวกหนึ่ง, เขาถือศีลห้าแลเพียรประฏิบัติจะให้ได้ฌานสะมาบัตินั้น.
ฦๅ, คือ ระบือข่าวฤๅความอันใด ๆ เปนต้นว่าการศึกสงครามเปนต้นนั้น.
ฦๅกะฉ่อน, คือ ฦๅสะท้อน, คนได้ฟังความปัจจุบันนะเหตุที่บังเกิดขึ้นไนเร็ว ๆ, พูจเล่าฦๅสะท้อนเปนต้นนั้น.
ฦๅกันมา, คือ เขาเล่าต่อ ๆ กันมาอื้ออึง, คนไดยินความอันใด แลพูจจาเล่ากันต่อ ๆ มานั้น.
ฦๅขะจร, คือ เล่ากันด้วยเสียงดัง ๆ ไม่ค่อยซุบซิบ จึ่งเรียกว่า ฦๅ.
ฦๅข่าว, คือ เขาพูจจาเล่าความอันใดอันหนึ่ง, ที่เปนปัจจุบันนะเหตุบังเกิดขึ้นนั้น.
ฦๅชา, คำ ฦๅ นั้นอะธิบายเช่นว่าแล้ว, แต่คำ ชา นั้นเปนคำสร้อย.
ฦๅดี, คือ คำเล่าความชอบของคนที่มีความชอบ, แต่เขาพูจอึง ๆ ดัง ๆ ไม่ต้องซ่อน, ว่า คนนั้นเขาดีเปนต้น
ฦๅทั่ว, คือ ความเขาพูจาบอกเล่ากันตลอดจบเมืองจบประเทศต่าง ๆ นั้น.
ฦๅไป, คือ ความเกิดขึ้นที่นี่, แลเขาพูจจาเล่ากันต่อ ๆ ไป.
ฦๅมา, คือ ความเกิดขึ้นที่อื่นเขาเล่าอื้ออึง, ตลอดมาจนถึงที่เบาอยู่นั้น.
ฦๅเล่า, คือ เล่าระบือข่าวปัจจุบันนะเหตุต่อ ๆ กันนั้นว่า่ ฦๅเล่ากัน.
ฦๅออกอึง, คือ ฦๅเล่ากันอื้ออึงคะนึง, เช่น มีของปลาด มีช้างเผือก เปนต้นนั้น.

828