หน้า:The Sangra Supreme Council (558.2567-No.19.2567).pdf/6

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
- ๖ -
เจติยมฺหิ จ สงฺเฆ วา ปุคฺคเล อติถีสุ วา
มาตริ ปิตริ จาปี อโถ เชฏฺฐมฺหิ ภาตรีติ

ตตฺถ จยิตพฺพนฺติ เจติยํ ปูเชตพฺพนฺติ วุตฺตํ โหติ จิตตฺตา วา เจติยํ. ตมฺปเนตํ ติวิธํ โหติ ปริโภคเจติยํ อุทฺทิสฺสกเจติยํ สธาตุกเจติยนฺติ. ตตฺถ โพธิรุกฺโข ปริโภคเจติยํ พุทฺธปฏิมา อุทฺทิสฺสกเจติยํ ธาตุคพฺภา ถูปา สธาตุกเจติยํ นาม.

แปลความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่าบุญสัมปทาเป็นขุมทรัพย์โดยปรมัตถ์ ด้วยพระคาถานี้ว่า ยสฺส ทาเนน เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวัตถุเป็นที่ที่บุคคลฝังขุมทรัพย์ไว้แล้วชื่อว่าฝังไว้ดี จึงตรัสพระคาถาว่า

ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี
ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี
ในพระคาถานั้น ที่ชื่อว่าเจติยะ (เจดีย์) เพราะหมายความว่า ควรก่อ อธิบายว่า ควรบูชา อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าเจติยะ (เจดีย์) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ก่อเสร็จแล้ว
ก็ เจดีย์นี้นั้น มี ๓ ประเภท คือ บริโภคเจดีย์ อุทิสสกเจดีย์ สธาตุกเจดีย์ บรรดาเจดีย์ ๓ ประเภทนั้น ต้นโพธิ์ ชื่อว่าบริโภคเจดีย์ พระพุทธปฏิมา ชื่อว่าอุทิสสกเจดีย์ สถูปบรรจุพระธาตุ ชื่อว่าสธาตุกเจดีย์หรือที่ไทยเรียกว่าพระธาตุเจดีย์

อรรถกถานี้ เป็นการอธิบายพระพุทธคาถานิธิกัณฑสูตร ในพระไตรปิฎก ฉบับบาลี เล่มที่ ๒๕ คืออธิบายบทว่า "เจติยมฺหิ" ที่แปลว่า ในเจดีย์

๓.๒ ในการศึกษาอรรถกถาเพื่อนำคำบาลีมาอ้างอิงนั้น สมควรศึกษาให้ครบถ้วนทุกอรรถกถาที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกันโดยศัพท์และความหมายของคำบาลีนั้น ๆ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาทุกเล่ม ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ว่า อุทิสสกเจดีย์หรืออุทเทสิกเจดีย์ หมายถึงผู้แสดงธรรมหรือการแสดงธรรม แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนอยู่ในอรรถกถานิธิภัณฑสูตรว่า พระพุทธปฏิมา ชื่อว่าอุทิสสกเจดีย์ ซึ่งท่านพระอรรถกถาจารย์ อธิบายคำว่า เจดีย์ ไว้ว่า หมายถึงสิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรก่อ (จยิตพฺพํ) และหมายถึงสิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรบูชา (ปูเชตพฺพํ) ดังนั้น พระพุทธปฏิมา จึงอยู่ในฐานะเป็น ปูเชตพุพา พุทธศาสนิกชนควรบูชา ในอรรถกถากาลิงคโพธิชาดก ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ที่เป็นการวิเคราะห์ศัพท์ อุทฺทิสิกํ หรือ อุทฺทิสฺสกํ ไว้ เนื่องจากท่านวิเคราะห์คำว่า เจติยํ (เจดีย์) ไว้ในอรรถกถานิธิกัณฑสูตรแล้วนั่นเอง

๓.๓ การแปล อวตฺถุกํ ว่า "ไม่มีวัตถุปรากฏ" สื่อความว่า อุทิสสกเจดีย์ ไม่มีรูปทรงใด ๆ ตามคำแปลนี้ อุทิสสกเจดีย์ จึงมิได้หมายถึงพระพุทธรูป หากแปล อวตถุกํ ว่า "ยังไม่มีวัตถุปรากฏ" จะมีความหมายตรงกันข้าม เพราะในขณะที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ยังไม่มีการปั้นหรือสร้างรูปพระพุทธองค์ จึงยังไม่มีวัตถุปรากฏ เช่นเดียวกันกับพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุเจดีย์ ในขณะที่ยังทรงพระชนม์อยู่จะยังไม่ปรากฏ ดังคำในอรรถกถาที่ระบุว่า อานนฺท สารีริกํ น สกฺกา ตมฺหิ พุทฺธานํ ปรินิพฺพุตกาเล โหติ (ดูกรอานนท์ ใคร ๆ ไม่อาจจะสร้างพระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะพระบรมสารีริกธาตุนั้น จะมีได้ในเวลาที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว) หากแปลด้วยสำนวนปกตินิยม คือแปลว่า มิใช่สถานที่ หรือมิใช่วัตถุสิ่งของ จะเป็นการแปลที่ตรงกับรูปคำบาลี