ผู้ข้ามความโศกเศร้าคร่ำครวญได้แล้ว ว่าบุญนี้ มีประมาณเท่านี้ |
ใคร ๆ ไม่อาจนับบุญของบุคคลผู้บูชาปูชารหบุคคลเหล่านั้นผู้เช่นนั้น |
ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ว่าบุญนี้ มีประมาณเท่านี้ |
อรรถกถาบาลี เล่มที่ ๒๓ ธ.อ. อตฺต–โกธวคุค อธิบายพระพุทธดำรัส ปูชารเห ปูชยโต ไว้ว่า ตตฺถ ปูชิตุํ อรหา ปูชารหา. ปูชิตุํ ยุตฺตาติ อตฺโถ. ปูชารเห ปูชยโตติ อภิวาทนาทีหิ จ จตูหิ ปจฺจเยหิ ปูเชนฺตสฺส.
แปลความว่า บุคคลทั้งหลายผู้สมควรเพื่อที่ใคร ๆ จะบูชา ชื่อว่าปูชารหบุคคลในพระคาถานั้น อธิบายว่า ผู้สมควรแล้วเพื่อการบูชา บาทพระคาถาว่า ปูชารเห ปูชยโต ความว่า ผู้บูชาอยู่ ด้วยการกราบไหว้ เป็นต้น และด้วยปัจจัย ๔
น้ำนั้น จัดอยู่ในปัจจัย ๔ การบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกรณีนี้ แม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วก็ยังมีอานิสงส์ผลบุญที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะคณานับได้ ปรากฏคาถาเรื่องปีตวิมานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ เป็นหลักฐานรับรอง คือ
ติฏฺฐนฺเต นิพฺพุเต วาปิ | สเม จิตฺเต สมํ ผลํ | |
เจโตปณิธิเหตู หิ | สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคติํ |
แปลความว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ยังทรงพระชนม์อยู่ก็ดี |
นิพพานแล้วก็ดี เมื่อความตั้งใจเท่ากัน ผลย่อมเท่ากัน เพราะเหตุที่ |
ตั้งจิตคิดชอบ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติได้ |
อนึ่ง ในอรรถกถาพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ ปรากฏคำบาลีว่า "อุทกปูชํ กาตุํ" ซึ่งแปลว่า "ทำการบูชาด้วยน้ำ" จึงเป็นข้อยืนยันว่า หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว นอกเหนือจากพุทธบริษัทจะทำการบูชาพระพุทธคุณด้วยอามิสบูชามีเทียนธูปดอกไม้ของหอมเป็นต้น ดังคำบาลีว่า ทีปธูปปุปฺ ผคนฺธาทีหิ อเนกวิธํ ปูชํ กตฺวา (ทำการบูชาหลายอย่างต่างประการด้วยเทียนธูปดอกไม้และ ของหอมเป็นต้น) แล้ว ยังทำการบูชาด้วยอุทกคือน้ำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เป็นไปตามคตินิยมดังที่ท่านพระอานนทเถระเคยถือปฏิบัติ ในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วไม่นาน ปรากฏหลักฐานรับรองอยู่ในอรรถกถาพระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ ดังนี้ว่า ทสพเลน วสิตคนฺธกุฏิยา ทฺวารํ วิวริตฺวา มญฺจปีฐํ นีหริตฺวา ปปฺโผเฏตวา คนฺธกุฎี สมฺมชฺชิตวา มิลาตมา ลากจวรํ ฉฑฺเฑตวา มญฺจปีฐํ อติหริตฺวา ปุน ยถาฏฐาเน ฐเปตฺวา ภควโต ฐิตกาเล วิย กรณียํ วัตฺตํ สพฺพมกาสิ ฯ แปลความว่าท่านพระอานนทเถระ เปิดประตูพระคันธกุฎีที่พระทศพลเคยประทับ แล้วนำเตียงและตั้งออกมาปัดเช็ดฝุ่น กวาดพระคันธกุฎี เก็บเศษซากดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งทิ้งเสีย แล้วนำเตียงและตั่งกลับเข้าไปตั้งไว้ในที่เดิมอีกได้ทำข้อวัตรที่ควรทำทุกอย่าง เหมือนในช่วงเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่.
คณะกรรมการได้พิจารณารายละเอียดทั้ง ๔ ประเด็นแล้ว มีมติเห็นชอบตามเอกสารสรุป และกรรมการทั้ง ๘ รูป ได้ลงนามรับรองไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
อนึ่ง ในการพิจารณาทั้ง ๔ ประเด็น ได้เปิดโอกาสให้พระทวีวัฒน์ จารุวณโณ ได้อธิบายแนวคิดของตน และคณะกรรมการได้อบรมแนะนำวิธีวิทยาเบื้องต้นเพื่อการตีความที่ถูกต้อง พร้อมกับเห็นควรให้แก้ไขแนวคิดและวิธีการเผยแผ่ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักวิชาการพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาตลอดจนมติของบูรพาจารย์ พระทวีวัฒน์ จารุวณโณ ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่าจะนำไปปรับปรุงแก้ไข