ห้องสิน/เล่ม ๓
ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยเพื่อทบทวนงานที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีแรก คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติให้เพิ่มการจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยขึ้นอีกสามชุด คือ ชุดประชุมพงศาวดาร ชุดรามเกียรติ์ และชุดพงศาวดารจีน
ชุดพงศาวดารจีนซึ่งจัดเป็นชุดที่ยี่สิบนี้ คณะกรรมการได้มีมติให้จัดพิมพ์เฉพาะเรื่องที่นับเนื่องเป็น "พงศาวดารจีน" จริง ๆ เสียก่อน ส่วนเรื่องจีนอื่น ๆ ที่จัดว่า เป็น "เกร็ด" พงศาวดารบ้าง หรือที่แต่งเป็นแบบนวนิยายบ้าง ให้จัดพิมพ์ต่อภายหลัง
ความจริงหนังสือพงศาวดารจีนไม่ว่าประเภทใดมีผู้นิยมอ่านกันมาก ในสมัยก่อน ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปติดพงศาวดารจีนเหมือนกับการรับประทานอาหาร ฉะนั้น จึงปรากฏว่า บรรดาหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องลงเรื่องจีนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องเป็นประจำ นักอ่านจะซื้อหนังสือพิมพ์รายวันเพื่ออ่านเรื่องจีนวันต่อวัน เรื่องที่ลงพิมพ์นั้นบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เคยพิมพ์เป็นเล่มมาแล้ว แต่หาอ่านไม่ได้ เพราะต้นฉบับเดิมหายาก และมิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่แปลขึ้นใหม่จากนวนิยายจีนซึ่งแต่งอิงพงศาวดาร บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่นักประพันธ์ไทยแต่งข้นเองทำนองแต่งนวนิยายอาศัยพงศาวดารจีน เรื่องอิงพงศาวดารจีนที่น่าอ่านเพราะเป็นเรื่องมีคติแก่ชีวิตและครอบครัวก็มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องจอยุ่ยเหม็ง เป็นต้น
ส่วนเรื่องจีนที่จัดได้ว่า เป็นเรื่อง "พงศาวดาร" นั้นปรากฏจากหนังสือตำนานสามก๊ก พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลขึ้นสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก นับเป็นเริ่มแรกของการแปลพงศาวดารจีนมาเป็นภาษาไทย ในรัชกาลที่ ๒ ได้มีการแปลบ้าง แต่ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ได้มีการแปลในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลต่อ ๆ มา
แต่การแปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยในครั้งนั้นหาได้แปลตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีนไม่ เข้าใจว่า อาจเพ่งเล็งไปในความสนุกของเรื่อง หรือตามแต่จะหาต้นฉบับได้มากกว่า ทั้งผู้อ่านไม่ปรารถนาจะหาความรู้ทางประวัติศาสตร์นอกจากความสนุกเป็นสำคัญ แต่ในการพิมพ์คราวนี้ คณะกรรมการมีความคิดเห็นว่า ควรจะจัดพิมพ์ใหม่ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน ซึ่งบางทีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจของประวัติศาสตร์บ้าง จึงได้เรียงลำดับการพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ
๑. ไคเภ็ก |
| |
๒. ห้องสิน |
| |
๓. เลียดก๊ก | ||
๔. ไซ่ฮั่น |
| |
๕. ไต้ฮั่น | ||
๖. ตั้งฮั่น | ||
๗. สามก๊ก |
| |
๘. ไซจิ้น |
| |
๙. ตั้งจิ้น | ||
๑๐. น่ำซ้อง | ||
๑๑. ส้วยถัง |
| |
๑๒. ซุยถัง | ||
๑๓. เสาปัก |
| |
๑๔. ซิยิ่นกุ้ย | ||
๑๕. ซิเตงซัน | ||
๑๖. ไซอิ๋ว | ||
๑๗. บูเช็กเทียน | ||
๑๘. หงอโต้ว |
| |
๑๙. น่ำปักซ้อง |
| |
๒๐. บ้วนฮ่วยเหลา | ||
๒๑. โหงวโฮ้วเพงไซ | ||
๒๒. โหงโฮ้วเพงหนำ | ||
๒๓. โหงวโฮ้วเพงปัก | ||
๒๔. ซวยงัก | ||
๒๕. ซ้องกั๋ง | ||
๒๖. เปาเล่งถูกงอั้น | ||
๒๗. ง่วนเฉียว |
| |
๒๘. เม่งเฉียว |
| |
๒๙. เองเลียดต้วน | ||
๓๐. ซองเต๊กอิ้วกังหนำ | ||
๓๑. ไต้อั้งเผ่า | ||
๓๒. เซียวอั้งเผ่า | ||
๓๓. เนียหนำอิดซือ | ||
๓๔. เม่งมวดเซงฌ้อ |
| |
๓๕. เชงเฉียว |
รวมทั้งสิ้นเป็นหนังสือสามสิบห้าเรื่อง ซึ่งถ้าแบ่งตามขนาดหนังสือชุดภาษาไทยก็อาจจะได้ไม่ต่ำกว่าห้าสิบเล่ม ต้นฉบับพิมพ์พงศาวดารจีนตามบัญชีดังกล่าวนี้ในปัจจุบันหาอ่านกันได้ยาก เพราะส่วนใหญ่มิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ นอกจากเรื่องที่นิยมกันว่า สนุก ๆ มากเท่านั้น การพิมพ์คราวนี้ก็ต้องยืมต้นฉบับจากหลายเจ้าของด้วยกัน ซึ่งคุรุสภาต้องขอแสดงความขอบคุณท่านเจ้าของต้นฉบับทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อของท่านเท่ากับเป็นการช่วยรักษาวรรณกรรมของชาติให้คงไว้ส่วนหนึ่ง และการจัดพิมพ์นั้นได้แก้ไขเฉพาะอักขรวิธี ส่วนถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ได้คงไว้ตามเดิม ซึ่งท่านจะได้ทราบภาษาที่คนไทยเรานิยมใช้เมื่อร้อยปีเศษมาแล้วว่าเป็นอย่างไร
ตอน | ชื่อตอน | หน้า | |
---|---|---|---|
ไทย | จีน | ||
อังกิ๋มประเชิญศึกเมืองไซรกี | 洪錦西岐城大戰 | ๑ | |
เกียงจูแหยเป็นสมุหกลาโหม | 姜子牙金臺拜將 | ๑๕ | |
อี๋ เจ๋ ห้ามทัพที่เขาแสงแรก | 首陽山夷齊阻兵 | ๑๙ | |
ทัพขงสวนล้อมป่าไก่ทอง (กิมเก๋เฉีย) | 孔宣兵阻金雞嶺 | ๒๔ | |
จัณฑีมุนี (จุ้นเถโตหยิน) ปราบขงสวน | 準提道人收孔宣 | ๓๔ | |
เกียงจูแหยแบ่งทัพเป็นสามทาง | 姜子牙三路分兵 | ๔๗ | |
ก๋งเสงจู๊ล่าถอยไปวังท่องฟ้า (เผกอิวก๋ง) สามครา | 廣成子三謁碧游宮 | ๕๒ | |
เสือทะยานฟ้า (ปวยฮอ) แตกพ่ายที่ด่านมังกรเขียว (แซเหลงก๋วน) | 青龍關飛虎折兵 | ๕๙ | |
วัชรปาณีสำแดงฤทธิ๋ | 哼哈二將顯神通 | ๖๗ | |
สุน นักท่องโลก (โทเฮงสุน) ลักทรัพย์ไม่สำเร็จ | 土行孫盜騎陷身 | ๗๗ |
- ๓๑๘–๓๑๘–๓๑๙
- พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชหัตถเลขา คือ จดหมายซึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งเอง (บางทีทรงเขียนเองด้วย) และลงพระนามด้วย พระราชหัตถ์ในจดหมายนั้นมีไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด เข้าใจว่า เป็นของเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าว่าในทางวรรณคดีและในทางโบราณคดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านเป็นอันมาก พระราชหัตถเลขาเหล่านี้โดยมากทรงพระราชนิพนธ์เพื่อแสดงพระราชปรารภส่วนพระองค์เฉพาะแก่ผู้ซึ่งทรงวิสาสะสนิทสนม คือ อย่างที่เรียกกันว่า จดหมายไปรเวต นอกจากนั้น เรื่องที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียมยุโรปในสมัยนั้นรู้กันในประเทศนี้อย่างที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา ไม่มีผู้อื่นจะรอบรู้ยิ่งกว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ท่านผู้สนใจในการค้นคว้าและนักศึกษาโปรดหาหนังสือชุดนี้ไว้เป็นสมบัติ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและประดับห้องสมุดของท่าน
- ๘๒๓–๘๒๔
- พงศาวดารไทยใหญ่ เล่ม ๑–๒
พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นหนังสือที่น่าอ่านน่าศึกษามาก ประกอบด้วยเรื่องราวของชนชาติไทยในสมัยโบราณ แต่ละตอนให้ความสนุก ตื่นเต้น ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การปกครองบ้านเมืองเมื่อตกอยู่ในอำนาจของพม่าและอังกฤษ ตลอดจนลักษณะการแต่งกาย ศาสนา ขนบธรรมเนียมของไทยใหญ่ การเทียบภาษาและคำพูดระหว่างลาว ไทยใหญ่ และชาวไทยปัจจุบันนี้
ถ้าท่านต้องการทราบว่า เดิมไทยเรามีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน แยกออกไปอยู่ถิ่นใดบ้าง และนักปราชญ์ฝรั่งให้ความเห็นเกี่ยวกับตำนานชาติไทยไว้อย่างไร ฯลฯ ท่านควรจะอ่าน พงศาวดารไทยใหญ่ และอย่าลืมหาไว้ประดับห้องสมุดของท่าน
- ๘๐๗–๘๐๘
- พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ เล่ม ๑–๒
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ในยุครัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นับตั้งแต่พระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต มีรายละเอียดที่สำคัญมากในเรื่องความเป็นมาของพระราชพิธีต่าง ๆ พระราชกรณียกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนการสืบสันตติวงศ์
พระราชพงศาวดารเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทุก ๆ ท่านควรจะมีไว้ เพราะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่าน และเพื่อบุตรหลานของท่านจะได้ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต คุรุสภาได้จัดพิมพ์จำหน่ายแล้วในชุดภาษาไทย ท่านไม่ควรพลาด
- ๑๘๐๑
- ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑–๗๘)
ในบรรดาหนังสือที่เป็นประโยชน์สำหรับค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยแล้ว หนังสือชุดพงศาวดารเป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะได้รวบรวมเรื่องเก่า ๆ ที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด นอกจากเรื่องพงศาวดารแล้ว ยังมีตำนานและลัทธิธรรมเนียมที่ควรรู้และน่าสนใจรวมอยู่ด้วยเป็นอันมาก หนังสือชุดนี้เริ่มพิมพ์เป็นภาคแรก เรียกว่า ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ และได้พิมพ์ต่อมาจนถึงภาคที่ ๗๓ ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นระยะเวลาถึงสามสิบปีเศษ และในขณะนี้ก็ยังมีพิมพ์ภาคอื่น ๆ ต่อมาอีกหลายภาค เนื่องด้วยหนังสือชุด ประชุมพงศาวดาร นี้เป็นหนังสือดี และพิมพ์มาแล้วเป็นเวลาช้านาน ทำให้กระจัดกระจาย หาอ่านได้ยากในยามที่ต้องการ ทั้งหาผู้ที่จะลงทุนพิมพ์รวมเป็นชุดได้ยาก ราคาของหนังสือชุดนี้ในท้องตลาดจึงสูงขึ้นจนทุกวันนี้ ชุดหนึ่งถึงหนึ่งหมื่นบาท คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือของคุรุสภามีความประสงค์จะรวบรวมพิมพ์หนังสือดี ราคาพอสมควร สำหรับให้นักศึกษาและผู้สนใจในวิชาการได้หาซื้ออ่านได้สะดวก จึงได้จัดพิมพ์ขึ้น หนังสือชุดนี้ได้พิมพ์ออกมาสามภาคแล้ว และกำลังจัดพิมพ์ภาคต่อ ๆ ไปตามลำดับ ผู้สนใจโปรดอย่าลืมหาไว้เป็นสมบัติประดับห้องสมุดของท่าน
เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ
แก้ไข- ↑ สารบัญเพิ่มโดยวิกิซอร์ซ ต้นฉบับไม่ได้แบ่งเป็นตอน ๆ เช่นนี้ ส่วนตอนที่ปรากฏนี้ วิกิซอร์ซเทียบเอากับต้นฉบับจีน เพื่อประโยชน์ในการอ่าน